การรับสภาพหนี้ ตอนที่ 2 หนังสือรับสภาพหนี้ มีผลต่อการยอมความคดีอาญาหรือไม่

“การรับสภาพหนี้” บันทึกพันธะแห่งความไว้วางใจ ตอนที่ 2 : หนังสือรับสภาพหนี้ มีผลต่อการยอมความในคดีอาญาหรือไม่?

การรับสภาพหนี้2

การทำ “หนังสือรับสภาพหนี้” เป็นการยอมรับภาระผูกพันในการชดใช้หนี้ทางแพ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีผลให้คดีอาญายุติโดยอัตโนมัติ เว้นแต่จะเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวและมีเงื่อนไขที่ชัดเจนว่าผู้เสียหายสละสิทธิ์ดำเนินคดีอาญา ดังนั้น หากไม่มีข้อความระบุอย่างชัดแจ้ง หนังสือรับสภาพหนี้เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้คดีอาญาระงับลง

มูลหนี้คดีอาญา

มูลหนี้ที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดทางอาญา คือ หนี้ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นและผู้กระทำผิดต้องรับผิดชอบทางแพ่ง ควบคู่ไปกับความรับผิดทางอาญา

ตัวอย่าง

• หนี้ที่เกิดจากการฉ้อโกงทรัพย์

• หนี้ที่เกิดจากการยักยอกทรัพย์

• หนี้ที่เกิดจากการลักทรัพย์

• หนี้ที่เกิดจากการกระทำร้ายร่างกายจนทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ

• หนี้ที่เกิดจากอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทของผู้กระทำผิด

รับสภาพหนี้กับการยอมความ

• การยอมความในคดีอาญา คือ การยุติคดีอาญาโดยความยินยอมของผู้เสียหายและผู้กระทำความผิด ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากศาล และเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

• การทำหนังสือรับสภาพหนี้ คือ การที่ลูกหนี้ยอมรับความรับผิดชอบทางแพ่ง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

เพราะ “การรับสภาพหนี้” มีขึ้นเพื่อสงวนสิทธิของฝ่ายเจ้าหนี้ มิให้สิทธิเรียกร้องหนี้สินของตนต่อลูกหนี้ขาดอายุความ และใช้เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นในภายหลังเพื่อดำเนินคดีต่อไป

ฉะนั้น “การทำหนังสือรับสภาพหนี้” จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการชดใช้ความเสียหายทางแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการพิจารณายอมความในคดีอาญา

“คดีความผิดต่อส่วนตัว”

หากเป็น “คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว” ลูกหนี้อาจทำหนังสือรับสภาพหนี้เพื่อยอมความได้ มีผลทำให้คดีอาญาระงับลง แต่ต้องเป็นการรับสภาพหนี้แบบมีเงื่อนไข เช่น

ชำระหนี้ครบแล้วถึงถอนคดีอาญา หรือ ชำระหนี้ครบแล้วจะไม่ดำเนินคดีอาญา

หนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลต่อการดำเนินคดีอาญาต้องปรากฏข้อความอย่างชัดแจ้ง

บันทึกการยอมรับสภาพนี้ มีเพียงข้อความว่า

“จำเลยยอมรับและยินยอมชดใช้เงินคืนให้แก่กลุ่มออมทรัพย์พร้อมดอกเบี้ยภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันให้ถ้อยคำนี้ หากไม่ปฏิบัติตาม จำเลยยินยอมให้คณะกรรมการกลุ่ม หรือสมาชิกกลุ่ม หรือทางราชการดำเนินการตามกฎหมาย”

ข้อความในหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายประสงค์ที่จะ สละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาต่อจำเลย จึงไม่ถือว่าสิทธิดำเนินคดีอาญาระงับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

ข้อตกลงจะต้องปรากฏชัดแจ้งว่า ผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความหรือ สละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยแล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ 6406/2548

อ่านบทความอื่นๆ
“การรับสภาพหนี้” บันทึกพันธะแห่งความไว้วางใจ ตอนที่ 1: เข้าใจสัญญาก่อนตัดสินใจความแตกต่างระหว่างการรับหนี้และการรับผิด
ปัญหาลูกหนี้กรรมการจุดอ่อนในงบการเงิน
ทวงหนี้อย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย
บริหารลูกหนี้อย่างไร ไม่ให้หนี้เป็นศูนย์

Copyright ©2025  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?