กฎหมาย หลักประกันทางธุรกิจ ตอนที่ 2

กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ ตอนที่ 2

อีกหนึ่งทางเลือก! สำหรับผู้ประกอบการ SMEs
ตอนที่ 2 สิทธิประโยชน์ในการจดทะเบียน อำนาจหน้าที่ และวิธีบังคับหลักประกัน

กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ ของการนำทรัพย์สินไปเป็นหลักประกัน ให้แก่สถาบันการเงินในรูปแบบใหม่ ต่างจากกฎหมายค้ำประกัน จำนำ และจำนอง ที่มีอยู่เดิม

สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ สามารถนำทรัพย์สินทุกชนิดมาเป็นหลักประกันได้ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สิทธิประโยชน์ในการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ

– ผู้รับหลักประกัน : ถือเป็นเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันก่อนเจ้าหนี้สามัญ
– ผู้ให้หลักประกัน : หรือลูกหนี้ มีสิทธิได้รับเงินกู้

บทลงโทษ หากกระทำความผิด

– หากผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสัญญาหลักประกันไม่กระทำการ หรือ มีหน้าที่แต่ไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด มีโทษปรับสถานเดียว
– หากผู้มีความเกี่ยวข้องกับสัญญาหลักประกันมีเจตนาทุจริต มีโทษ ทั้งจำ ทั้งปรับ

สัญญาหลักประกันทางธุรกิจจะสิ้นสุดเมื่อใด

1. เมื่อหนี้ที่ไปทำหลักประกันไว้ ระงับสิ้นไป / มีการชำระหนี้แล้วโดยไม่ต้องบังคับกับหลักประกัน (หนี้ประธานระงับ)
2. คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยกเลิกสัญญา (ตกลงให้หนี้ระงับ)
3. มีการไถ่ถอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน เมื่อหลักประกันนั้น ถูกบังคับเพื่อใช้ชำระหนี้แล้ว (หนี้อุปกรณ์ถูกบังคับ และมีการขอไถ่ถอนคืน)
4. เมื่อมีการบังคับหลักประกัน (บังคับเพื่อนำไปใช้หนี้)

วิธีบังคับหลักประกัน

กรณีที่ 1 การบังคับหลักประกันที่เป็นทรัพย์สิน

– จำหน่ายทรัพย์ที่เป็นประกันเพื่อมาชำระหนี้ เช่น ขายทอดตลาด
– เอาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิ (กรรมสิทธิ์ สิทธิเรียกร้อง หรือสิทธิเหนือหลักประกัน) เช่น กรณีเป็นสิทธิในเงินฝาก (สถาบันการเงิน) อาจนำเงินฝากดังกล่าวมาหักชำระหนี้ได้ทันที

กรณีที่ 2 การบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ ให้ดำเนินการจำหน่ายทรัพย์สินของกิจการที่เป็นหลักประกัน เพื่อนำมาชำระหนี้

อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับหลักประกัน

ผู้บังคับหลักประกัน คือ บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ให้หลักประกัน และผู้รับหลักประกัน ในกรณีที่นำกิจการมาเป็นหลักประกัน
โดยผู้บังคับหลักประกัน จะต้องได้รับใบอนุญาต จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

หน้าที่ของผู้บังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ

1. ไต่สวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุบังคับหลักประกัน
2. ตรวจสอบและประเมินราคากิจการที่เป็นหลักประกัน
3. กำหนดวิธีการที่เหมาะสมในการจำหน่ายกิจการที่เป็นหลักประกัน
4. บำรุงรักษา จัดการ และดำเนินกิจการที่เป็นหลักประกันจนกว่าจะจำหน่ายกิจการที่เป็นหลักประกันได้
5. ดำเนินการจำหน่ายกิจการที่เป็นหลักประกัน และจัดสรรเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้

 

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?