ภาษีธุรกิจ ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์

ภาษีธุรกิจ ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์

เจ้าของบ้านเช่า อพาร์ตเม้นท์ คอนโดหรือที่อยู่อาศัยอื่นๆ ควรทราบ

การให้เช่าทรัพย์ ถือเป็นเงินได้ ต้องเสียภาษี

การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัย มีภาษีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
– กรณีที่ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา ถือเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40 (5) ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
– กรณีที่ผู้ให้เช่าเป็นนิติบุคคล ที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
– กรณีที่มีการคิดค่าบริการอื่นเพิ่ม เช่น ให้เช่าเฟอร์นิเจอร์ หรือ การให้บริการน้ำประปา ไฟฟ้า ถือว่าเป็นการให้บริการ หรือการขาย ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายในส่วนนี้เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี
– การทำเอกสารสัญญาเช่า ต้องเสียอากรแสตมป์

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

วิธีที่ 1
(รายได้ค่าเช่า – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน ) X อัตราภาษี
รายได้ค่าเช่า สามารถหักค่าใช้จ่าย ได้ 2 แบบ
1.  แบบเหมา หักได้ร้อยละ 30 หรือ
2. หักตามความจำเป็นและสมควร แต่ต้องมีหลักฐาน และพิสูจน์ได้

วิธีที่ 2
รายได้ค่าเช่า X 0.5%
ในกรณีที่รายได้จาการให้เช่า และรายได้อื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน รวมกัน มีรายได้มากกว่า 1 ล้านบาทต่อปี
เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณทั้ง 2 แบบ แบบใดมีภาษีที่ต้องชำระสูงกว่า เลือกเสียภาษีแบบนั้น

การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีเงินได้ ต้องนำไปรวมกับเงินได้อื่นๆ (ถ้ามี) และนำไปยื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ( ม.ค. – มิ.ย. ) ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ภายในเดือน ก.ย.
– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภ.ง.ด. 90 ภายในเดือน มี.ค. ของปีถัดไป โดยภาษีที่ชำระไว้ตามแบบ ภ.ง.ด. 94 แล้ว ให้ถือเป็นเครดิตได้
– กรณีผู้ให้เช่าได้ค่าเช่าจากหลายสัญญา จะเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาบางสัญญา หรือตามความจำเป็นและสมควรบางสัญญาไม่ได้ (ต้องนำมารวมกัน แล้วหักค่าใช้จ่ายแบบใดแบบหนึ่งครั้งเดียว)

การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

วิธีคำนวณ (คำนวณจากฐานกำไรสุทธิ)
(รายได้ค่าเช่า – ค่าใช้จ่าย) X อัตราภาษี
– กรณีนิติบุคคลทั่วไป อัตราภาษี อยู่ที่ ร้อยละ 20
– กรณีนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนฯ ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท (SME)

– สำหรับกำไรสุทธิ 3 แสนบาทแรก จะได้รับการยกเว้นภาษี
– สำหรับกำไรสุทธิ ตั้งแต่ 3 แสน ถึง 3 ล้านบาท เสียอัตราภาษี ร้อยละ 15
– สำหรับกำไรสุทธิ ส่วนที่เกิน 3 ล้านบาท เสียอัตราภาษี ร้อยละ 20

การเสียภาษีเงินมูลค่าเพิ่ม

– การให้เช่าที่พักอาศัย มักเป็นสัญญาการเช่ารายเดือน หรือรายปี โดยผู้ให้เช่าส่งมอบ การครอบครองพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า ถือเป็นเงินได้จากการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

– ถ้าเป็นการให้เช่าที่พักอาศัย และมีการคิดค่าบริการอื่นเพิ่มเติม เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าเฟอร์นิเจอร์ จะถือว่าเป็นการให้บริการ หรือการขาย ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายได้ตรงส่วนนี้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาท / ปี

– กรณีเป็นผู้ประกอบการโรงแรม เช่น guest – house / บังกะโล / รีสอร์ท ถือเป็นการให้บริการ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

การเสียอากรแสตมป์

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?