ภาษีคาร์บอน

ทำความรู้จัก กับภาษีคาร์บอน (Carbon Tax)

ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เป็นภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการผลิต การจำหน่าย หรือใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ซึ่งเมื่อเผาไหม้จะทำให้เกิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และถูกปลดปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก ซึ่งการเรียกเก็บภาษีนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกมาในแต่ละครั้ง ของการดำเนินกิจกรรมของโรงงาน

โดยฐานภาษีคาร์บอนที่ใช้ในการจัดเก็บ มี 2 แบบ คือ

●  จัดเก็บภาษีทางตรงจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน กระจกจากการผลิตสินค้า

●  จัดเก็บภาษีทางอ้อมตามการบริโภค
ซึ่งในประเทศไทย กรมสรรพสามิต กำลังศึกษาเพื่อนำภาษีคาร์บอนมาใช้ โดยจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีการปรับตัวได้อย่างยั่งยืน

ภาษีคาร์บอนส่งผลต่อผู้ประกอบการอย่างไร ?

เงื่อนไขการใช้สิทธิ

1. เป็นโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อบก. ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. 2563 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2563
2. คำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของนิติบุคคล ให้คำนวณตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยนิติบุคคลนั้นต้องคำนวณกำไรสุทธิของรายได้จากการดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่ละโครงการแยกออกจากรายได้จากการประกอบกิจการอื่นเป็นระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
3. นิติบุคคล ที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้แยกยื่น

●  แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ พร้อมทั้งบัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนของแต่ละโครงการ
●  บัญชีงบดุล ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

ยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือยื่นพร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนในกิจการอื่นได้โดยใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเดียวกันในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นั้น

ทั้งนี้สามารถดำเนินงานได้ตั้งแต่ 23 มิ.ย. 2563 เป็นต้นไป

สิทธิประโยชน์ด้านภาษีคาร์บอน

1. ได้รับการขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) :TGO ตั้งแต่วันที่ พรฎ. ใช้บังคับ ไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2570
2. การขายคาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER
3. ยื่นเอกสารขอใบรับรองการขายคาร์บอนเครดิตจาก TGO
4. แสดงหลักฐานตอนเสียภาษีเงินได้ โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ จากกำไรในการขายคาร์บอนเครดิต 3 รอบบัญชีติดกัน และใช้ได้เฉพาะการซื้อขายมือแรกเท่านั้น

ผู้ที่ใช้สิทธิได้ คือ บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่านั้น

การซื้อขายคาร์บอน ทำอย่างไร ?

1. การซื้อขายคาร์บอน สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ ได้แก่การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มตลาดซื้อขาย (Trading Platform) หรือ ศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ (ศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิตของประเทศไทย อบก. อยู่ระหว่างการทำความตกลงกับผู้ประกอบการศูนย์ซื้อขายเพื่อเปิดให้บริการ โดย อบก. หรือ TGO)

2. ซื้อขายในระบบทวิภาค (Over-the-counter: OTC) ซึ่งเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ต้องการซื้อและผู้ขายโดยตรง ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการที่ต้องการขายคาร์บอนเครดิตของตนโดยไม่ผ่านตลาด

ตลาดคาร์บอนเครดิต มีกี่ประเภท ?

ตลาดคาร์บอนเครดิต แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mondatory Carbon Market)
จัดตั้งขึ้นจากผลบังคับในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกฎหมาย ผู้ที่เข้าร่วมจะต้องมีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Legally Binding Target)

2. ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market)
จัดตั้งขึ้นโดยไม่มีผลบังคับในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกฎหมาย โดยมีการตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองโดยสมัครใจ (Voluntary) และไม่ได้มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Non-Legally Binding Target)

ในประเทศไทยจะเป็นรูปแบบภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market ) และคู่แข่งยังน้อย ดังนั้นถือว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจอีกทางหนึ่งได้ ใครที่เริ่มก่อนย่อมได้เปรียบ

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?