รู้หรือไม่? ใช้ซอฟต์แวร์ผิดลิขสิทธิ์ หากตรวจพบเสี่ยงโดนปรับย้อนหลัง!

17 ตุลาคม 2562

ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์คืออะไร

โปรแกรมเป็นชุดคำสั่ง ที่ได้มีการเขียนขึ้นมาตามลำดับขั้นตอน เกิดขึ้นจากบริษัทผู้ผลิตพัฒนาขึ้นมา แล้วนำออกจำหน่าย ตัวอย่างที่เราเห็นกันได้ชัด นั่นก็คือ Microsoft Office หรือตระกูล Adobe พัฒนาขึ้นมาเองโดยผู้ใช้งาน ด้วยการเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงาน ตามความต้องการของผู้ใช้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง อย่างเช่น ธนาคาร หรือ ห้างสรรพสินค้า
โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมา ต่างมีลิขสิทธิ์เป็นของตัวเอง เพราะเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง ภายใต้

• พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
• พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
• พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558

โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ตนได้กระทำขึ้น

การกระทำที่เข้าข่าย การละเมิดลิขสิทธิ์

• การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง เป็นการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำออกให้เช่า โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ปรับ 20,000 – 200,000 บาท
• การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม เป็นการทำเพื่อการค้า จงใจและมีเจตนาหารายได้กำไร จากการขาย เช่า และรับรู้ว่าสิ่งที่ทำเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ปรับ 100,000 – 800,000 บาท จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

รู้หรือไม่ว่า

• คนทั่วไปสามารถแจ้งเบาะแส การใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ โดยผ่านบีเอสเอ กลุ่มพันธมิตรซอฟต์แวร์ (www.bsa.org)

• เจ้าของลิขสิทธิ์ยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่ง เรียกร้องค่าเสียหายกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ อีกทั้งยังมีการเรียกปรับย้อนหลังตามปีที่ติดตั้งโปรแกรม

 

โปรแกรมที่พบบ่อย

โปรแกรมที่พบส่วนมาก จะเกี่ยวกับการทำงานในออฟฟิศ การตกแต่งภายใน หรือการออกแบบกราฟิก อย่าง Microsoft, Adobe, Sketchup, Autodesk

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีการใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์

เมื่อซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะได้รับสัญญาสิทธิการใช้งาน (License Agreement) ซึ่งจะระบุสิทธิ์ที่ผู้ซื้อได้รับ เมื่อถึงเวลาตรวจสอบ ทางผู้ผลิตจะดำเนินการตรวจว่า License ถูกต้องและตรงกันหรือไม่ กรณีจำนวนไม่ถูกต้อง จำนวนไม่ตรงกัน ต้องดำเนินการตามข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญา ดังนั้น ทางออกที่ดีควรมีการ

• จัดทำทะเบียนสินทรัพย์ทางไอที (IT Asset List)

• จัดทำนโยบายทางด้านไอที และมีบทลงโทษชัดเจน

และหากไม่แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่นั้นถูกต้องตามลิขสิทธิ์หรือไม่

ติดต่อ DiTC โทร. 02-555-0999

——

แหล่งที่มา : www.facebook.com/dharmnitigroup

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?