องค์กร ควรเริ่มต้นอย่างไร ?
ปัจจัยความสำเร็จ เริ่มที่ คณะกรรมการ ต้องเข้าใจความสำคัญ โดยคณะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูง ต้องกำหนดนโยบาย และแนวปฎิบัติที่สอดคล้องกับบริบทของธุรกิจ และมอบหมายให้ฝ่ายจัดการ นำกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัท ในด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และ บรรษัทธรรมาภิบาล ไปปรับใช้ในกระบวนการทำงาน ของทุกส่วนงานอย่างชัดเจน และมีการตั้งเป้าหมาย รวมถึงการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรม
ขั้นตอนการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน
5 กระบวนการหลัก ในการขับเคลื่อนองค์กร สู่ความยั่งยืน
1. Materiality การวิเคราะห์บริบท ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสีย และประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร
2. Policy การกำหนดนโยบายด้านความยั่งยืนขององค์กร
3. Strategy การกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร
4. Implementation การขับเคลื่อนความยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติ
5. Disclosure การเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน
กระบวนการที่ 1 Materiality การวิเคราะห์บริบท ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสีย และประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร
1.การศึกษาและทำความเข้าใจบริบทขององค์กร (Context analysis)
2.การระบุและวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย การวิเคราะห์ประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียและธุรกิจมีผลกระทบต่อกัน พร้อมกำหนดวิธีการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder analysis)
-ระบุผู้มีส่วนได้เสีย
-วิเคราะห์ประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียและ ธุรกิจมีผลกระทบต่อกัน
-กำหนดวิธีการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม
3.การกำหนดและจัดลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Materiality analysis)
-กำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
-จัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านความยั่งยืน
กระบวนการที่ 2 Policy การกำหนดนโยบายด้านความยั่งยืนขององค์กร
1.การกำหนดนโยบายและเป้าหมายในการบริหารจัดการความยั่งยืนในระดับองค์กร (Commitment) สร้างความชัดเจนกับผู้มีส่วนได้เสียว่าจะดำเนินธุรกิจไปในทิศทางใด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมโดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานในองค์กร ให้มีแนวคิดและการดำเนินงานในทิศทางที่สอดคล้องกันกับนโยบายและเป้าหมายด้านความยั่งยืน
2.การกำหนดผู้รับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนแต่ละประเด็นเพื่อให้เกิดการทำงานที่เชื่อมโยงกัน (Team set up) เพื่อให้มีความชัดเจนในการทำงานและการติดตามผลงาน ควรกำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ดำเนินงานและรับผิดชอบหลักในแต่ละประเด็นไว้ให้ชัดเจน
กระบวนการที่ 3 Strategy การกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร
1.การกำหนดกรอบหรือกลยุทธ์ด้านการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability framework) โดยทั่วไปมักมองไปในอนาคตในระยะกลางหรือระยะยาว จึงไม่เปลี่ยนแปลงทุกปี ยกเว้นในกรณีที่ธุรกิจมีบริบทหรือลักษณะการบริหารจัดการองค์กรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
2.การกำหนดแผนงานด้านความยั่งยืน (Sustainability initiative) ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละแผนงาน โดยทั่วไปแล้วธุรกิจมักพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐาน เช่น
-สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาด้านความยั่งยืน และนำไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนในระดับองค์กร
-ตอบสนองต่อประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่ได้รับการจัดอันดับความสำคัญในลำดับต้นๆ
-ก่อให้เกิดประโยชน์หรือสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สามารถวัดผลให้เห็นเป็นคุณค่าหรือมูลค่าแก่องค์กรได้
กระบวนการที่ 4 Implementation การขับเคลื่อนความยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติ
การนำแผนงานด้านความยั่งยืนไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย สามารถทำได้ตามแนวทางที่ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละองค์กรเห็นสมควร ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือที่องค์กรสามารถนำมาใช้บริหารจัดการโครงการค่อนข้างหลากหลายทั้งในรูปแบบซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน องค์กรหลายแห่งนิยมใช้ แนวทางการดำเนินงานตาม PDCA คือ
-Plan การวางแผนก่อนการดำเนินงาน
-Do การลงมือปฏิบัติตามแผน
-Check การตรวจสอบผลการดำเนินงาน
-Act การปรับปรุงการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพ
กระบวนการที่ 5 Disclosure การเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน
1.รวบรวมและวางระบบจัดเก็บข้อมูลด้านความยั่งยืน และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Data collection & Verification)
2.วิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Evaluation)
3.เปิดเผยและสื่อสารผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Communication)
4.ทบทวนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (Review)