12 ตุลาคม 2565
ยุคนี้เงินทองหายาก เงินใช้รายวันแทบไม่มีก็ยากจะมีเงินเก็บ เมื่อถึงวันต้องใช้เงินก้อนเร่งด่วน พวกที่มีสิทธิ์เข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบก็ถือว่ายังดี แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินนี้ หากเพื่อให้อยู่รอดก็ต้องหันหน้าเข้าหาเจ้าหนี้นอกระบบ ซึ่งเมื่อถึงเวลาผิดนัดชำระหนี้ก็อาจตามมาด้วยการทวงหนี้โหดอย่างที่เห็นเป็นข่าวอยู่ทั่วไป หลายคนถูกทำร้ายร่างกาย ทรัพย์สิน และถูกประจาน ซึ่งหากถามว่าเป็นแบบนี้ลูกหนี้มีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองอย่างไร กฎหมายจะช่วยอะไรได้บ้าง ลองไปหาคำตอบพร้อมๆ กัน
พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ถือเป็นข้อกำหนดกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่ลูกหนี้ เพื่อป้องกันการทวงหนี้ไม่เป็นธรรม หรือปัญหาการทวงหนี้โหดจากเจ้าหนี้ โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
ใครมีสิทธิ์ทวงหนี้?
• เจ้าหนี้โดยตรง ได้แก่ สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ ผู้ให้บริการบัตรเครดิต ผู้ให้บริการเช่าซื้อ รวมถึงเจ้าหนี้นอกระบบ และเจ้าหนี้ในกิจกรรมที่ไม่ถูกกฎหมาย เช่น เจ้าหนี้การพนัน
• ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ตามกฎหมาย
• ผู้รับมอบอำนาจช่วง ซึ่งหมายถึงผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ จากผู้รับมอบอำนาจอีกทอดหนึ่ง
• ผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้
• ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
***ผู้รับมอบอำนาจจากทุกกรณี หากลูกหนี้ทวงถามถึงสิทธิ์ทวงหนี้ต่อหน้า ต้องนำหลักฐานการมอบอำนาจมาแสดงด้วย
เจ้าหนี้มีสิทธิ์ทวงหนี้ได้อย่างไรบ้าง?
• การติดต่อโดยบุคคล หรือไปรษณีย์
• สถานที่ติดต่อ ตามที่ลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงหนี้ หากไม่ได้แจ้งไว้หรือตามที่แจ้งไว้ไม่สามารถติดต่อได้ โดยผู้ทวงถามหนี้ได้พยายามติดต่อแล้ว ให้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ สถานที่ทำงานของลูกหนี้
• เวลาที่ติดต่อ สามารถทวงหนี้โดยบุคคล โทรศัพท์ ไลน์ ส่งข้อความหรืออีเมล ระหว่างวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00 – 20.00 น. และวันหยุดราชการ เวลา 08.00 – 18.00 น.
• สามารถทวงหนี้ได้ไม่เกิน 1 ครั้ง/วัน (ถ้า เพื่อนทวงเพื่อน สามารถทวงได้เกิน 1 ครั้ง/วัน)
ทำแบบไหนนับเป็นการทวงหนี้สำเร็จ?
• ผู้ทวงหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ ลูกหนี้รับโทรศัพท์และรับทราบการทวงอย่างชัดเจน → นับเป็นการทวงหนี้สำเร็จ
• ผู้ทวงหนี้แชทไลน์ หรือส่งข้อความไปแล้วลูกหนี้เปิดอ่าน แม้จะไม่ตอบข้อความ → นับเป็นการทวงหนี้สำเร็จ
• ผู้ทวงหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่รับสาย หรือกดวางสายก่อนจะมีการพูดคุยเรื่องทวงหนี้อย่างชัดเจน → ไม่นับเป็นการทวงหนี้
• ผู้ทวงหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ ลูกหนี้รับสาย แต่พูดคุยเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่เรื่องการทวงหนี้ → ไม่นับเป็นการทวงหนี้
• ผู้ทวงหนี้ทักไปสอบถามทางแชทไลน์ แต่ลูกหนี้ยังไม่เปิดอ่าน → ไม่นับเป็นการทวงหนี้
ข้อห้ามการทวงหนี้และบทลงโทษ ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558
โดยลูกหนี้สามารถร้องเรียนได้ด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะแล้วร้องเรียนแทน โดยยื่นเรื่องร้องเรียนได้ตามสถานที่ต่างๆ ดังนี้
• ที่ว่าการอำเภอ
• ที่ทำการปกครองจังหวัด
• สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
• กองบัญชาการตำรวจนครบาล
• สถานีตำรวจ
• สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 1359
แม้จะเป็นลูกหนี้แต่ก็สิทธิ์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และเจ้าหนี้สามารถดำเนินการทวงหนี้ได้ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันปัญหาทวงหนี้โหดที่ดีที่สุดคือการไม่สร้างหนี้ หรือหากจำเป็นต้องสร้างหนี้ก็ควรหาสถาบันการเงินที่อยู่ในระบบและพยายามจ่ายหนี้ให้ครบ
ที่มา