รื้อบ้าน – รื้ออาคาร โดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิด อ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้!
งานก่อสร้างบ้านเป็นงานที่ต้องรัดกุมปลอดภัยภายใต้มาตรฐานและกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ไม่ว่าจะสร้างหรือรื้อต้องติดต่อขออนุญาตสำนักงานเขตหรือเทศบาลท้องถิ่นที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้นๆ ก่อน เพราะหากกระทำการโดยไม่ได้รับอนุญาตนั่นถือว่าคุณเข้าข่ายทำผิดกฎหมายอย่างเลี่ยงไม่ได้ วันนี้ธรรมนิติจึงนำข้อบัญญัติการรื้อบ้าน รื้ออาคาร โดยไม่ได้รับอนุญาต มาฝากกันค่ะ
คำจำกัดความของคำที่เกี่ยวข้องกับการรื้อบ้าน รื้ออาคาร
• กฎหมายควบคุมอาคาร คือ กฎหมายที่ใช้เพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้อาคาร เช่น ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบระบายอากาศ รวมถึงการก่อสร้างอาคารให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม และมีการจัดการด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ และควบคุมด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
• รื้อถอน หมายถึง รื้อส่วนอันเป็นโครงสร้างของอาคารออกไป เช่น เสา คาน ตง หรือส่วนอื่นของโครงสร้างตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
• อาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้และหมายความรวมถึง
(1) อัฒจันทร์หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชน
(2) เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ทาง หรือท่อระบายน้ำ อู่เรือ คานเรือ ท่าน้ำ ท่าจอดเรือ รั้ว กำแพง หรือประตู ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย
(3) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย
(ก) ที่ติดหรือตั้งไว้เหนือที่สาธารณะและมีขนาดเกินหนึ่งตารางเมตร หรือมี น้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกินสิบกิโลกรัม
(ข) ที่ติดหรือตั้งไว้ในระยะห่างจากที่สาธารณะซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้ว ระยะห่างจากที่สาธารณะมีน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้นเมื่อวัดจากพื้นดิน และมีขนาดหรือมีน้ำหนัก เกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง
(4) พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ สำหรับอาคารที่กำหนดตามมาตรา 8(9)
(5) สิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงส่วนต่างๆ ของอาคารด้วย
แนวทางปฏิบัติการรื้อบ้าน รื้ออาคาร
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
มาตรา 22
“ผู้ใดจะรื้อถอนอาคารดังต่อไปนี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ
(1) อาคารที่มีส่วนสูงเกิน 15 เมตร ซึ่งอยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของอาคาร
(2) อาคารที่อยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่า 2 เมตร”
สรุปการรื้อบ้านหรืออาคาร ตามมาตรา 22
1. กรณีอาคารสูงเกิน 15 เมตร หากอยู่ห่างจากอาคารอื่นๆ หรือที่สาธารณะ น้อยกว่า ระยะความสูงของอาคารจะต้องขออนุญาต แต่ถ้าอยู่ห่างจากอาคารอื่นๆ เป็นระยะ เท่ากับ หรือ มากกว่า ความสูงของอาคารไม่ต้องขออนุญาต
2. กรณีอาคารทั่วไป หากอยู่ห่างจากอาคารอื่นๆ หรือที่สาธารณะ น้อยกว่า 2 เมตร หากจะทำการรื้อถอนจะต้องขออนุญาต แต่ถ้าอยู่ห่างจากอาคารอื่นๆ ตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ไม่ต้องขออนุญาต
บทลงโทษ รื้อบ้าน – รื้ออาคาร โดยไม่ได้รับอนุญาต
การทำปลอม คือ การเจตนาทำให้เหมือนของจริง หรือเอาของเทียมมาทำให้เหมือนของแท้ โดยมีลักษณะดังนี้
1) ทำเอกสารปลอมขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ
2) การเติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขต่างๆ ในเอกสารจริง หรือ
3) การประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอม
4) การกระทำที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โดยมีเหตุชักจูงใจเพื่อให้คนใดคนหนึ่งหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารจริง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปลอมเอกสาร
มาตรา 65 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 52 วรรคหก มาตรา 57 หรือมาตรา 60 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 34 หรือมาตรา 57 ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
หากไล่เลียงกฎระเบียบตามมาตราต่างๆ ใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีข้อบังคับกฎหมวดในการควบคุมการรื้อถอน อำนาจในการจัดการ และบทลงโทษ ชัดเจน ดังนั้นการรื้อบ้าน – อาคาร โดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดทางกฎหมายแน่นอน และหากรู้แบบนี้แล้ว จะรื้อบ้านแต่ละครั้งควรดำเนินการให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาและความผิดโดยไม่ตั้งตัว
อ้างอิงข้อมูล