4 ช่องทางตรวจสอบ “กรมธรรม์” เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด

11 มีนาคม 2565

“ผู้เสียชีวิต” ทำประกันไว้หรือไม่

หลายท่านอาจเคยมีข้อสงสัยว่า ถ้าบุคคลใกล้ชิดของเรา “เสียชีวิต” แต่ไม่มีการบอกกล่าวให้ผู้ใดรู้ว่า ผู้ตายได้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตอะไรไว้กับบริษัทใดบ้าง เช่นนี้จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อ ?

เราจึงมี “4 ช่องทางการตรวจสอบการทำประกันของผู้เสียชีวิต” รวมถึงการยื่นเรื่องเคลมประกันมาให้ทุกท่านได้ทราบดังต่อไปนี้ครับ

1. บริษัทประกันทราบการเสียชีวิต

กรณีที่ บริษัทประกันได้รับแจ้งจากสถานีตำรวจ หรือโรงพยาบาลว่า “ผู้เอาประกันเสียชีวิตแล้ว”

บริษัทประกันจะเป็นผู้ดำเนินการ

–      เช็คกรมธรรม์

–      ติดต่อผู้รับผลประโยชน์ที่ถูกระบุชื่อเอาไว้ เพื่อให้ผู้รับผลประโยชน์มาดำเนินการต่อไป

 

2. ทายาททราบถึงประกันของผู้เสียชีวิต

กรณีที่ทายาทของผู้เสียชีวิตทราบว่าผู้เสียชีวิตทำประกันชีวิตไว้กับบริษัทประกันใดบ้าง”

ทายาทของผู้เสียชีวิตจะต้องนำเอกสาร 2 อย่างต่อไปนี้

–      บัตรประจำตัวผู้เอาประกัน

–      กรมธรรม์ประกันชีวิต

เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้ว ให้ติดต่อบริษัทประกัน เพื่อขอเคลมประกันต่อไป

 

3. ทายาทมีการแจ้งความสูญหาย

กรณีที่คาดว่า ผู้ทำประกันเสียชีวิตแล้ว แต่ ยังไม่พบศพหรือมีชีวิตอยู่แต่สูญหายไป”

ทายาทจะต้องมีการแจ้งความสูญหาย และรอจนกว่าจะพบศพ แต่หากเมื่อเวลาผ่านพ้นไปกว่า 3 ปีแล้ว ยังไม่มีการพบตัวหรือพบศพ ทายาทสามารถดำเนินการทำเรื่องขอเคลมประกันได้ทันที หลังพ้นระยะเวลาดังกล่าว

 

4. ไม่ทราบว่าผู้เสียชีวิตทำประกันไว้

ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดเลยทราบว่า ผู้เสียชีวิตได้ทำประกันชีวิตไว้หรือไม่”

ทายาทหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถยื่นคำร้องขอตรวจสอบการทำประกันชีวิตได้ที่ “สำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)” ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินการตรวจสอบ

โดยเมื่อ คปภ. ตรวจสอบแล้วจะแจ้งว่าผู้เสียชีวิตได้ทำประกันหรือไม่ ทำไว้กับบริษัทประกันใดบ้าง

เอกสารประกอบคำร้องขอตรวจสอบการทำประกันชีวิต

–      ใบมรณบัตรของผู้เสียชีวิตที่ต้องการตรวจสอบ

–      สำเนาทะเบียนบ้านและบัตร ปชช. ของผู้ยื่นคำร้อง

ทั้งนี้ คปภ. จะใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบ 2-3 สัปดาห์ เมื่อทราบแล้ว 

เอกสารขอเคลมประกัน

เตรียมเอกสารขอเคลมประกันต่อบริษัทประกัน หลังจากทราบแล้วว่าผู้เสียชีวิตทำประกันชีวิตไว้ที่ใดบ้าง

–      ใบมรณบัตรต้นฉบับ

–      ทะเบียนบ้านต้นฉบับของผู้เอาประกัน ซึ่งต้องมี การประทับตรา “ตาย” เรียบร้อยแล้ว

–      บัตรประชาชนต้นฉบับของผู้เอาประกัน

–      ทะเบียนบ้านต้นฉบับของผู้รับประโยชน์

–      บัตรประชาชนต้นฉบับของผู้รับประโยชน์

–      กรมธรรม์ประกันชีวิต

–      สำเนาบันทึกประจำวันที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ (กรณีที่เสียชีวิตจากสาเหตุอื่น)

–      แบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมมรณกรรม

คำเตือน

หากไม่มีทายาทหรือผู้ใดยื่นเรื่อง ก็มีโอกาสที่จะเสียสิทธิ์ หากว่าบริษัทประกันไม่ได้รับแจ้งการเสียชีวิตของผู้ทำประกัน

สำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

 

 

 

 

Tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?