11 กรกฎาคม 2567
มัดจำรวมถึงทรัพย์สินที่ให้ไว้หลังทำสัญญาหรือไม่?
มัดจำ คือ เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่น ซึ่งคู่สัญญาได้ส่งมอบให้ไว้แก่กันเมื่อเข้าทำสัญญา เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำขึ้นแล้ว และเป็นการประกันการปฏิบัติตามสัญญา
(มาตรา 377 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
ตัวอย่าง (ฎีกาที่ 7122/2549)
วันทำสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างนาย A กับ นาย B ระบุในสัญญาว่า นาย B (ผู้จะซื้อ) ได้วางมัดจำในวันทำสัญญาเป็นเงิน 10,000 บาท และมัดจำส่วนที่เหลือจำนวน 914,000 บาท จะชำระเป็นงวดรายเดือน จำนวน 10 เดือน
การเลิกสัญญา
ดังนั้น เมื่อ A เป็นฝ่ายผิดสัญญาและ B บอกเลิกสัญญา นาย B จึงมีสิทธิริบเงินมัดจำที่ให้ไว้ในวันทำสัญญา จำนวน 10,000 บาทเท่านั้นและเงินที่เป็นการชำระราคาบางส่วน นาย A (ผู้ขาย) มีหน้าที่ต้องคืนให้นาย B (ผู้ซื้อ)
มัดจำคือ ทรัพย์สินที่ให้ไว้ในวันทำสัญญาเท่านั้น ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ไว้ในวันอื่น
มัดจำ รวมถึงเงินดาวน์ หรือไม่
เมื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายกันแล้ว มีการผ่อนชำระเงินก่อนโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ เรียกว่า “เงินดาวน์”
ตัวอย่าง
นาย C (ผู้ซื้อ) วางเงินในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายจำนวน 55,000 บาท โดยไม่ได้วางมัดจำ และหลังจากทำสัญญาผ่อน ชำระไปอีก 10 งวด ต่อมา นาย C ผิดสัญญา นาย A (ผู้ขาย) จะริบเงินทั้งหมดได้หรือไม่ ?
• เนื่องจากเจตนาของนาย C และนาย A ปรากฏในสัญญาจะซื้อจะขายว่าให้เงินจำนวน 55,000 บาท เป็นเงินดาวน์จึงต้องถือว่าเงินจำนวนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง
• ในส่วนของเงินดาวน์ที่โจทก์ผ่อนชำระไปแล้วอีก 10 งวด ถือเป็นเงินที่ผ่อนชำระกันหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขาย
ดังนั้น เงินดาวน์ จึงไม่ใช่เงินมัดจำ แม้นาย C ผิดสัญญา นาย A ไม่สามารถริบเงินทั้งหมดได้