ลูกหนี้กรรมการเป็นปัญหาทางบัญชีที่พบได้บ่อยในกิจการขนาดเล็กถึงกลาง โดยเฉพาะในธุรกิจที่เจ้าของมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการทางการเงิน ปัญหานี้เกิดจากการนำเงินของบริษัทไปใช้ในส่วนตัวหรือความไม่ชัดเจนในการลงบัญชี ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของงบการเงินแล้ว ยังสร้างความเสี่ยงทางภาษีและการตรวจสอบจากสรรพากรอีกด้วย บทความนี้จะอธิบายถึงต้นเหตุของปัญหา ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และแนวทางการแก้ไขเพื่อให้กิจการสามารถปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานบัญชีอย่างถูกต้อง
ลูกหนี้กรรมการ
เกิดขึ้นเมื่อเจ้าของกิจการนำเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไปใช้ส่วนตัว ทำให้สถานะของเจ้าของกลายเป็นลูกหนี้ของกิจการ ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่น
• ดึงเงินออกจากธุรกิจเพื่อใช้จ่ายส่วนตัว
• รายการที่ไม่ทราบจะลงบัญชีอย่างไร
• มีทุนจดทะเบียนสูง แต่ไม่ได้มีการชำระเงินจริง
ผลกระทบ
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา คือ
1. การหมุนเวียนเงินไม่มีประสิทธิภาพ เสียโอกาสในการนำเงินไปลงทุนหรือดำเนินงาน ซึ่งอาจส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว
2. กิจการนำรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงมาใช้เป็นรายจ่ายทางภาษีไม่ได้
3. ความน่าเชื่อถือไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
การแก้ไข
หากเจ้าของสามารถนำเงินไปคืน (กรณีลูกหนี้) หรือให้กิจการคืนเงินให้ (กรณีเจ้าหนี้) เพียงเท่านี้ปัญหาจะหมดไป
กรณีถูกตรวจสอบ
หากถูกสรรพากรตรวจสอบ ควรยืนยันด้วยหลักฐานและรายการสำคัญที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
• สัญญาเงินกู้ หลักฐานการโอนเงิน และบันทึกบัญชี
• การคิดดอกเบี้ยในอัตราตลาด
• การหักค่าใช้จ่าย
• ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
• การพิสูจน์แหล่งที่มาของเงิน
การจัดการปัญหาลูกหนี้กรรมการอย่างถูกวิธีไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงด้านภาษีและการตรวจสอบจากสรรพากร แต่ยังช่วยเสริมสร้างความโปร่งใสในงบการเงิน และเพิ่มความน่าเชื่อถือของกิจการในสายตาของนักลงทุนและคู่ค้า การแก้ไขที่ต้นเหตุ เช่น การปรับปรุงกระบวนการทางบัญชีและการรักษาหลักฐานที่ชัดเจน เป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
อ่านเพิ่มเติมใน CPD&Account ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2567
พร้อมบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ โดยนักเขียนมากประสบการณ์
อ่านบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ ลูกหนี้
บริหารลูกหนี้อย่างไร ไม่ให้หนี้เป็นศูนย์
หนี้เสีย คืออะไร หากลูกหนี้เสียชีวิตจะตกทอดแก่ทายาทมรดกหรือไม่?