รู้หรือไม่? แค่แชตขอยืมเงิน ก็เหมือนทำสัญญากู้ยืมเงินแล้ว

ปัญหาการยืมเงินที่หลายคนไม่อยากพบเจอ คือ คนยืมไม่ยอมคืนเงิน ยิ่งเป็นเพื่อนสนิท หรือคนใกล้ชิด ยิ่งตามคืนยาก และเพราะความเชื่อใจที่เป็นคนกันเองจึงไม่ค่อยทำสัญญากู้ยืมเงินที่มีการลงลายมือชื่อผู้กู้ยืม พอมีปัญหาไม่คืนก็ไม่มีหลักฐานในการฟ้องร้อง และหลายคนอาจยังไม่รู้ว่าแค่คุณมีประวัติการแชตหรือข้อความที่พูดคุยตกลงกันเรื่องยืมเงิน นั่นก็ใช้เป็นหลักฐานได้แล้ว รายละเอียดเรื่องนี้มีอะไรบ้าง และจะใช้ข้อความแชตนั้นให้เกิดประโยชน์อย่างไร ไปติดตามพร้อมๆ กันเลย


แชตยืมเงิน ถือเป็นธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

ข้อความ หมายความว่า เรื่องราว หรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ

 

กฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

การกำหนดจำนวนการใช้เหรียญในการใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ ไว้เป็นไปเพื่อป้องกันไม่ให้มีการกลั่นแกล้งกัน หากมีการใช้เหรียญต่างๆ ข้างต้น ชำระในจำนวนที่เกินจากที่กฎหมายกำหนด ผู้รับมีสิทธิ์ปฏิเสธได้โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย

 

ทำอย่างไร หากจะใช้เหรียญ 1 บาท ที่ออมไว้เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด?

หากมีการเก็บออมเหรียญ 1 บาท หรือเหรียญมูลค่าอื่นๆ ไว้จำนวนมากๆ และต้องการใช้เงินส่วนนี้สามารถดำเนินการได้ 2 ทางเลือก คือ
1) ฝากเงินที่ธนาคารต่างๆ ไว้ก่อน แล้วจึงถอนออกมาชำระหนี้ หรือจะใช้ชำระหนี้กับธนาคารโดยตรงก็ได้ แต่อาจมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไปแต่ละธนาคาร
2) ติดต่อขอแลกเหรียญได้ที่ สำนักบริหารเงินตรากรมธนารักษ์ โดยติดต่อที่เบอร์ 0 2834 8300

 

สรุปสามารถใช้เหรียญ 1 บาทล้วน ซื้อ iPhone 14 หรือชำระหนี้เกิน 500 บาท ได้หรือไม่?

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

มาตรา 7 ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 8 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว

มาตรา 9 ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า

1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน และ
2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี

 

ใช้แชตขอยืมเงินเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินได้อย่างไร?

การสนทนาเรื่องการกู้ยืมเงินแม้จะเป็นการทำผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความ ส่งไลน์ เฟซบุ๊กเมสเซนเจอร์ หรืออีเมลต่างๆ หากตกลงโอนเงินกันเรียบร้อย แต่พอถึงเวลาคืนเงิน ผู้กู้ยืมกลับตุกติกไม่คืนเพราะคิดว่าไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกัน

กรณีนี้ เจ้าหนี้สามารถใช้การสนทนาผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ นั้นเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน หรือฟ้องร้องได้ เพราะถือว่าข้อความที่แชตสนทนากันนั้นเป็นหนังสือและหลักฐานการกู้ยืมเงิน โดยให้รวบรวมหลักฐาน ดังนี้

1) หลักฐานที่มีข้อความการสนทนาขอกู้ยืมเงินผ่านแชต หรือกล่องข้อความออนไลน์ต่างๆ

2) หลักฐานบัญชีของผู้กู้ยืมเงินที่ได้โอนเงินให้

3) หลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือแอปพลิเคชันของธนาคาร (หากชื่อผู้ยืมเงินไม่ตรงกับชื่อเจ้าของบัญชีธนาคารที่โอนเงินให้ ก่อนโอนเงินควรให้ผู้ขอกู้ยืนยันและอธิบายว่าบัญชีธนาคารนั้นเป็นของใคร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้ขอกู้ยืมเงิน)

 

อ้างอิงข้อมูล

กระทรวงยุติธรรม

Tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?