HR ฟังทางนี้! รู้ทันพนักงานหัวหมอกับวิธีจับผิดการลา-การขาดงาน

ลางาน

14 สิงหาคม 2562

อาการแบบนี้เกิดขึ้นกับพนักงานของท่านหรือเปล่า

  • อาการป่วยเป็นนิจ ลากิจเป็นประจำ
  • อาการป่วยการเมือง
  • อาการป่วยจริง
  • ลางานเป็นประจำ หรือ ขาดงานอยู่บ่อย ๆ จนหัวหน้าต้องตาม

จะทำอย่างไร? เมื่อพนักงานของท่านขาดงาน

ลักษณะการลางานของพนักงานมีอยู่ไม่กี่ประเภท ทั้งนี้สามารถจำแนกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ คือ

1. ประเภทการลาที่มีการวางแผนการไว้ล่วงหน้า

เช่น การลาพักร้อน หรือ การลากิจ (ธุระ) ผู้บังคับบัญชาต้องหาคนมาทำงานแทนคนที่ลาพักร้อน หรือ ลากิจ ได้ทันท่วงที ซึ่งจะไม่ส่งผลเสียกับองค์กรมากนัก

2. ประเภทการลาที่เกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วน

เช่น ลาป่วย ซึ่งการลาประเภทนี้ จะส่งผลกระทบต่อองค์กรมากที่สุด

HR หลายๆ คนอาจพบว่า บางครั้งในการลาของพนักงานไม่ได้เกิดขึ้นจริง หรือ เจ็บป่วยจริง แต่เป็นการใช้สิทธิการลาตามที่ได้รับสิทธิจากองค์กร ตามโควตาที่ได้รับตามจำนวนอายุงาน เช่น ลาพักร้อน ได้ 10 วัน และลาป่วยได้ 20 วัน ลากิจได้ 5 วัน เป็นต้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับระเบียบที่ทางบริษัทกำหนด

ประเด็นใดบ้าง? ที่ HR จะใช้เป็นจุดสังเกตในการจับผิดการลาอย่างมืออาชีพ

จับผิดกรณีลาป่วย

ป่วยการเมือง เป็นที่นิยมกับพนักงาน หากว่าพนักงานคนนั้นเกิดลาบ่อยๆในช่วงวันหยุด ก็ต้องสังเกตกันว่า “พนักงานคนนั้นป่วยการเมือง” ซึ่งสามารถดูได้จากการ ลาของพนักงาน เช่นกัน แต่จะมีข้อสังเกตุง่ายๆ ดังนี้

  • ลาในช่วงต่อเนื่องกับวันหยุดประจำปีเป็นประจำ
  • ลาป่วยวันจันทร์ หรือวันสุดท้ายของวันทำงานในสัปดาห์
  • ลาป่วยเพียง 1 – 2 วัน โดยไม่มีใบรับรองแพทย์ (ซึ่งบางคนก็อาจป่วยจริง)

พนักงานบางคน…หัวหมอ มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ในกรณีการขาดงานติดต่อกันเกิน 3 วันโดยไม่บอกกล่าวนายจ้าง นายจ้างสามารถ “เลิกจ้าง” ได้ทันที (โดยมีเหตุสมควร) ถือเป็น “การละทิ้งหน้าที่” ดังนั้น บรรดาลูกจ้างประเภทศรีธนชัย จึงมีการวางแผนเกี่ยวกับวันหยุดมาเป็นอย่างดี เช่น เริ่มหยุดตั้งแต่วันพฤหัสบดี และวันศุกร์ แล้วกลับมาทำงานในวันจันทร์ ตรงจุดนี้ HR จะต้องหาสาเหตุของการขาดงานให้ได้

การเขียนใบลา

เป็นการเช็คเกี่ยวกับการลา หรือเป็นการที่พนักงานมารายงานตัว หลังจากหยุดงาน HR จะต้องสอบถามสาเหตุของการลา เพื่อจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิมได้ เช่น อาการป่วยเป็นอย่างไร? บ้าง สอบถามว่าต้องไปหาหมออีกหรือเปล่า เป็นต้น หากทราบว่ามีพฤติกรรมการลาที่ไม่ถูกต้อง ในบางรายอาจให้แสดงใบรับรองแพทย์ทุกครั้งที่ลาป่วย (พวกพนักงานป่วยการเมือง) มีพนักงานที่เป็นแบบนี้ เช่น ศุกร์เมา เสาร์นอน อาทิตย์ถอน จันทร์ลา อย่างนี้

หากในกรณีที่พนักงานใช้สิทธิ์ลาป่วยครบ 30 วันแล้ว ให้แจ้งพนักงานว่า หากลาป่วยครั้งต่อไป จะพิจารณาให้ลาโดยมีการกำหนดโทษไว้ หากพบว่าอาการป่วยส่งผลต่อการทำงาน นายจ้างมีสิทธิพิจารณาเลิกจ้าง เนื่องจากพนักงานหย่อนสมรรถภาพในการทำงานได้ โดยจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กฎหมายกำหนด

ดังนั้น หาก HR ได้ทำการจับผิดพนักงานมา ทั้งหมดนี้แล้ว ก็ยังรู้สึกว่ายังเจอกับพนักงานไม่ทำตามคำสั่งหรือ ไม่ทำตามอย่างที่เราต้องการ HR ต้องประกาศให้พนักงานทราบว่า การขาด ลา มาสาย มีผลต่อการขึ้นเงินเดือน และโบนัส หากขาดงานเกินกี่วัน มาสายเกินกี่ครั้ง จะไม่ขึ้นเงินเดือนและตัดโบนัส เป็นต้น เพื่อให้พนักงานมีความกระตือรือร้นในการทำงานและไม่ขาด ลา มาสายอีก

 

แหล่งที่มา : www.jobdst.com

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?