สาระสำคัญ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

สาระสำคัญ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

“กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง” อีกหนึ่งกลไกสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับลูกจ้างยามเกษียณ หรือเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน บทความนี้จะมาสรุป “สาระสำคัญกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง” ที่ลูกจ้างและนายจ้างควรรู้ เพื่อให้เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเองอย่างถูกต้อง

กิจการที่ต้องจัดให้มีกองทุนฯ

กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ส่วนกรณีนายจ้างที่จัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ต้องให้ลูกจ้างเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินออมเมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือเสียชีวิต

การส่งเงินสะสมและเงินสมทบ

• 1 ต.ค. 68 – 30 ก.ย. 73 อัตราจัดเก็บ คือ 0.25%
• 1 ต.ค. 73 เป็นต้นไป อัตราจัดเก็บเพิ่มเป็น 0.50%

โดยนายจ้างมีหน้าที่หักค่าจ้างของลูกจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างเป็นเงินสะสม และนายจ้างจ่ายเงินสมทบ นำส่งเงินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

การคำนวณเงินสะสมและเงินสมทบ

คำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ รวมถึงค่าจ้างตามผลงาน เช่น ค่าเที่ยว ค่าชั่วโมงบิน และเงินตอบแทนการขาย ฯลฯ กฎหมายไม่ได้กำหนดเพดานขั้นต่ำหรือขั้นสูงของเงินสะสมและเงินสมทบเหมือนประกันสังคม

เมื่อลูกจ้างออกจากงาน

เมื่อลูกจ้างออกจากงานไม่ว่าด้วยกรณีใดก็ตาม จะได้รับเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลจากเงินดังกล่าว ส่วนกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต จะจ่ายให้กับบุคคลผู้พึงได้รับเงินตามที่ลูกจ้างได้ทำหนังสือแจ้งไว้ ถ้าไม่มีบุคคลผู้มีสิทธิได้รับ เงินจะตกแก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

 

บทความนี้ได้สรุปประเด็นสำคัญของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของตนเอง การตระหนักถึงความสำคัญของกองทุนนี้ จะช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถศึกษาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงาน

อ่านบทความนี้เพิ่มเติมใน
HR Society Magazine ฉบับมกราคม 2568
สาระสำคัญ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
พร้อมบทความที่น่าสนใจ

สาระสำคัญ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

อ่านบทความอื่นๆ
ความสำคัญ และสิทธิประโยชน์ ของ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เริ่ม 1 ตุลาคม 2568

Copyright ©2025  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?