กฎหมายครอบครัว การหมั้น การสมรส

07 ตุลาคม 2564

 

การหมั้น

เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงกันว่า ชายและหญิงคู่หมั้น จะทำการสมรสกันในอนาคต แต่ไม่สามารถเอาสัญญาหมั้นมาฟ้องร้องบังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการสมรสได้

เงื่อนไขสำคัญ

1.การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ (มาตรา 1435) หากฝ่าฝืน การหมั้นนั้นตกเป็นโมฆะ

(มาตรา 1435  วรรค 2)

2.ถ้าฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถทำการหมั้นได้ด้วยตนเอง ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่าย ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องได้รับคำยินยอมจากบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองของทั้งสองฝ่ายด้วย

3.ไม่สามารถหมั้นกับคนวิกลจริต หรือคนที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้

4..ไม่สามารถหมั้นกับบุคคลผู้เป็นบุพการีได้

5.ไม่สามารถหมั้นกับบุคคลที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว

6.บุคคลที่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมแต่มารดา หรือบิดาเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถหมั้นกันได้

7.บุคคลที่จะให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำการหมั้นได้แก่ บิดา และมารดา

ของหมั้น (มาตรา 1437)

ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงในขณะทำการหมั้นเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับฝ่ายหญิง

สินสอด (มาตรา 1437)

เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่ยินยอมให้ฝ่ายหญิงสมรสด้วย

การผิดสัญญาหมั้น

ถ้าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงคู่หมั้น ไม่ยอมทำการสมรสกับคู่หมั้นของตนโดยไม่มีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ถือว่าคู่หมั้นฝ่ายนั้นผิดสัญญาหมั้น


Advertising

การสมรส

1.การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์(มาตรา 1448)

2.การสมรสจะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจของทั้ง 2 ฝ่ายหากไม่สมัครใจในการสมรส การสมรสนั้นจะเป็นโมฆะ

3.การสมรสจะกระทำไม่ได้ ถ้าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือคนที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ(มาตรา 1449) หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นตกเป็นโมฆะ (มาตรา 1495)

4.ชายและหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรง เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา จะทำการสมรสกันไม่ได้ (มาตรา 1450) หากฝ่าฝืน การสมรสนั้นตกเป็นโมฆะ (มาตรา 1495)

5.ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้(มาตรา 1452)หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นตกเป็นโมฆะ(มาตรา 1495)

6.หญิงที่สามีเสียชีวิตจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อ สิ้นสุดการสมรสไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน(มาตรา 1453)

7.ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้  (มาตรา 1451)

8.การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อ ชายหญิงยินยอมเป็นสามีภรรยากันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้เปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน(มาตรา 1458)

9.ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง(มาตรา 1454)หากฝ่าฝืนการสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะ (มาตรา 1509)

ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส

1.หากสามีข่มขืนกระทำชำเราภรรยา ภรรยาจะฟ้องคดีความผิดฐานข่มขืนไม่ได้

2.การที่ภรรยาปฏิเสธไม่ยอมให้สามีร่วมประเวณีด้วย อาจเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยา เป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ (มาตรา 1516 (6))

3.ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไป เกิน 1 ปี เป็นเหตุหย่าได้ (มาตรา 1516 (4))

tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?