ESG แนวคิด การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ตอนที่ 2

แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

Environmental, Social, Governance ESG

ตอนที่ 2

ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG

ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG

ขั้นตอนที่ 1 : กำหนดโครงสร้างการกำกับดูแล

การกำกับดูแลควรครอบคลุ่มทุกภาคส่วนภายในองค์กร เจ้าของความเสี่ยง และหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความยั่งยืน ควรส่งเสริมให้กรรมการบริษัท และผู้บริหาร ตระหนักถึงความเสี่ยงด้าน ESG และสร้างวัฒนธรรมการบริหารจัดการคงามเสี่ยงที่ดีภายในองค์กร

ขั้นตอนที่ 2 : เข้าใจบริบทและกลยุทธ์ธุรกิจ รวมถึง

หน่วยงานด้านความยั่งยืน ต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านความเสี่ยง และหน่วยงานด้านกลยุทธ์อย่างใกล้ชิด เพื่อทำความเข้าใจ ติดตาม และสื่อสารแนวโน้มที่สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในอนาคต ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ (Mega Trends) และประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจหรือส่งผลต่อกลยุทธ์ องค์กรทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

ขั้นตอนที่ 3 : ระบุประเด็นความเสี่ยง ESG

ใช้เครื่องมือการบริหารความเสี่ยงขององค์กร เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมและที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk)
กำหนดความหมายและขอบเขตของความเสี่ยงให้ชัดเจน

ขั้นตอนที่ 4 : ประเมินและจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยง ESG ที่เกี่ยวข้อง

ต้องทำความเข้าใจว่า ประเด็นความเสี่ยง ว่าส่งผลกระทบต่อความสามารถของบริษัทในการดำเนินธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายอย่างไร
เลือกเกณฑ์จากตารางประเมินความเสี่ยง Risk Matrix ที่เหมาะสม
กำหนดตัวแปรและสมมติฐานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูล และประเมินความรุนแรง ความเสี่ยง ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดและส่งผลกระทบต่อธุรกิจ อย่างไร

ขั้นตอนที่ 5 : ตอบสนองต่อประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

เลือกวิธีตอบสนองต่อความเสี่ยงด้าน ESG โดยพิจารณาจาก

1.บริบทในการดำเนินธุรกิจ
2.ต้นทุนและประโยชน์
3.ความสอดคล้องกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงพันธกิจ วิสัยทัศน์และ ค่านิยมองค์กร
4.ความจำเป็นและเร่งด่วนในการตอบสนองโดยอ้างอิงจากตำแหน่งของความเสี่ยงบนตารางประเมินความเสี่ยง (Risk Metrics)
5.พิจารณาจากระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ (Risk Appetite) และความรุนแรงของผลกระทบ

ขั้นตอนที่ 6 : ทบทวนและปรับปรุงประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

ดำเนินการทบทวนขั้นตอนที่ 1 – 5 อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรครอบคลุมประเด็นต่างๆ อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนที่ 7 : สื่อสารและเปิดเผยประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG

สื่อสารความเสี่ยงด้าน ESG แนวทางการจัดการและผลการบริหารจัดการให้ ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายใน และภายนอกรับทราบ เนื่องจากความเสี่ยงถือเป็นข้อมูลสำคัญ สำหรับการทำกลยุทธ์ การปฏิบัติงานและการตัดสินใจลงทุน

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?