หลักฐานการติดต่อทาง อีเมล์ ไลน์ เฟซบุ๊กแมสเซ็นเจอร์ นำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้หรือไม่ ?

พยานหลักฐาน

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ e-Document

หมายถึง ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของไฟล์ชนิดต่าง ๆ สามารถสร้าง ส่ง-รับ หรือเก็บรักษาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเข้าถึงและนำมาใช้อ้างอิงได้ในภายหลัง โดยเนื้อหาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่การสร้างครั้งแรก

กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 11

“ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายเพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์”

ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์จาก

• ลักษณะ วิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษาหรือสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
• ลักษณะ วิธีการเก็บรักษา ความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลง
• ลักษณะ วิธีการที่ใช้ในการระบุตัวผู้ส่งข้อมูล
• พฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง

*พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 11 วรรคหนึ่งและสอง

กฎหมายให้ใช้บังคับกับ “สิ่งพิมพ์ออก” หรือ “Printout” ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หมายความรวมถึง ข้อมูลการติดต่อสื่อสารหรือการสนทนาผ่านอีเมล์ ไลน์ เฟซบุ๊กแมสเซ็นเจอร์ หรือการพูดคุยโต้ตอบกันผ่านทางคอมเมนต์กระทู้ต่างๆ หรือเว็บไซต์เฟซบุ๊ก หรือเว็บไซต์อื่นๆ โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง สามารถใช้อ้างอิงเป็นพยานหลักฐาน ในการพิจารณาคดีได้ทั้งที่เป็นคดีแพ่งและคดีอาญา

*พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 11 วรรคสาม

การนำ “สิ่งพิมพ์ออก” (Printout) ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล ย่อมกระทำได้

ผู้นำสืบย่อมสามารถทำการพิมพ์ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ใส่กระดาษ แล้วนำเอากระดาษที่พิมพ์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ไปนำสืบในชั้นศาลได้

ตัวอย่างการรับฟังพยานหลักฐาน e-Document

• เจ้าหนี้บอกล่าวปลดหนี้โดยส่งข้อความทาง เฟซบุ๊ก ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ รับฟังได้
• ข้อความทางเฟซบุ๊กปรากฏชื่อผู้ส่ง (เจ้าหนี้) ถือว่าได้มีการลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานแล้ว
• ข้อความในแชทเฟซบุ๊ก ถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว
• หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินย่อมระงับ

คำพิพากษาฎีกาที่ 6757/2560

*พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 7, 8, 9

อ่านบทความอื่นๆ
คลิปเสียง คลิปวิดีโอที่แอบถ่าย ใช้เป็นพยานได้หรือไม่ ?
หลักฐานจากกล้องวงจรปิด ถือเป็นพยานประเภทไหน?

Copyright ©2025  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?