“ข้อห้าม” ในการสืบพยาน การซักถาม-ถามค้าน-ถามติง

11 มีนาคม 2565

 

ข้อห้ามในการถามพยาน

“การซักถาม”

1.  ห้ามไม่ให้ถามในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี

2.  ห้ามไม่ให้ถามคำถามที่อาจทำให้พยาน หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลภายนอกต้องรับโทษทางอาญา หรทอคำถามที่เป็นการหมิ่นประมาทพยาน

เว้นแต่ คำถามนั้นเป็นข้อสาระสำคัญที่จะชี้ขาดข้อพิพาท

3.  ห้ามไม่ให้ผู้ถามใช้คำถามนำ

(คำถามนำ หมายถึง คำถามที่บอกคำตอบอยู่ในตัว ส่วนมากเป็นการเอาคำตอบมาลงท้ายด้วยคำว่า ใช่หรือไม่ เช่นพยานเห็นจำเลยยิงผู้ตายใช่หรือไม่ เป็นต้น)

เว้นแต่

3.1  คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอม

3.2  ได้รับอนุญาตจากศาล

3.3  พยานให้การเป็นปฏิปักษ์แก่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานมา

3.4  เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญที่ศาลอนุญาตให้ใช้คำถามนำได้

 

“การถามค้าน”

1.  ห้ามไม่ให้ถามในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี

2.  ห้ามไม่ให้ถามคำถามที่อาจทำให้พยาน หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกต้องรับโทษทางอาญา หรือคำถามที่เป็นการหมิ่นประมาทพยาน

เว้นแต่ คำถามนั้นเป็นข้อสาระสำคัญที่จะชี้ขาดข้อพิพาท

 

“การถามติง”

1.  ห้ามไม่ให้ถามในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี

2.  ห้ามไม่ให้ถามคำถามที่อาจทำให้พยาน หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกต้องรับโทษทางอาญา หรือคำถามที่เป็นการหมิ่นประมาทพยาน

เว้นแต่ คำถามนั้นเป็นข้อสาระสำคัญที่จะชี้ขาดข้อพิพาท

3.  ห้ามไม่ให้ผู้ถามใช้คำถามนำ

(คำถามนำ หมายถึง คำถามที่บอกคำตอบอยู่ในตัว ส่วนมากเป็นการเอาคำตอบมาลงท้ายด้วยคำว่า ใช่หรือไม่ เช่น พยานเห็นจำเลยยิงผู้ตายใช่หรือไม่ เป็นต้น)

เว้นแต่

3.1  คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอม

3.2  ได้รับอนุญาตจากศาล

3.3  พยานให้การเป็นปฏิปักษ์แก่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานมา

3.4  เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญที่ศาลอนุญาตให้ใช้คำถามนำได้

4.  ห้ามไม่ให้ใช้คำถามอื่นใด นอกจากคำถามที่เกี่ยวกับคำพยานเบิกความตอบคำถามค้าน

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?