ธนาคารแห่งประเทศไทย 30 มกราคม 2568
ปัจจุบัน ภัยทุจริตทางการเงิน มีรูปแบบที่ซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างกว้างขวาง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงยกระดับมาตรการป้องกันและรับมืออย่างจริงจัง โดยมุ่งเน้นทั้งการจัดการบัญชีม้าและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น มาดูกันว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการทางการเงินได้อย่างไร
ธปท. กับการยกระดับมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน
มาตรการกลุ่มที่ 1
การยกระดับการจัดการบัญชีม้า
เพื่อเป็นการจัดการทั้งระบบ และสามารถป้องกันเหตุได้อย่างรวดเร็ว เป็นการช่วยลดความเสียหายของประชาชน
มาตรการกลุ่มที่ 2
การมีผลิตภัณฑ์/บริการที่ดูแลให้ปลอดภัยมากขึ้น
กำหนดให้ธนาคารต้องมีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ดูแลให้ลูกค้าสามารถใช้บริการดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
ธปท. กับการยกระดับมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน
มาตรการกลุ่มที่ 1
1. ยกระดับการจัดการจาก “บัญชี” เป็น “บุคคล”
2. จัดการบัญชีต้องสงสัย เร็วขึ้นและครอบคลุมขึ้น
3. ดำเนินการเข้มข้นขึ้น (ทั้งบัญชีที่มีอยู่เดิม และการเปิดบัญชีใหม่)
การยกระดับการจัดการบัญชีม้า จัดระดับบุคคลที่มีความเสี่ยง
ข้อมูลจากประกาศของ ปปง.
เป็นรายชื่อผู้มีความเสี่ยงสูงเข้าข่ายกระทำผิด ตาม พรก.ฯ
ข้อมูลในระบบ CFR
เป็นรายชื่อผู้ที่ถูกแจ้งความหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในเส้นทางเงินทุจริตในทุกธนาคาร
• ธปท. ออกหนังสือเวียนให้ธนาคารใช้ข้อมูลรายชื่อในระบบ CFR ระหว่างกัน เพื่อจัดการบัญชีของบุคคลนั้นข้ามธนาคารได้
ข้อมูลจากการที่ธนาคารติดตามพฤติกรรมผิดปกติของลูกค้า
เช่น บัญชีที่โอนเงินเข้าออกมูลค่าน้อยในระยะเวลาสั้น ๆ หลายครั้ง
• ธนาคารแลกเปลี่ยนรูปแบบ “พฤติกรรมผิดปกติ” และ “วิธีการจัดการ” เพื่อให้การตรวจสอบมีมาตรฐานเดียวกัน และขยายผลการกวาดบัญชีต้องสงสัยได้
มาตรการกลุ่มที่ 2
ธปท. กำหนดให้สถาบันการเงิน มีบริการเพิ่มเติมที่ช่วยดูแลให้ประชาชนใช้บริการดิจิทัลได้ปลอดภัยยิ่งขึ้น
มาตรการที่ให้สถาบันการเงินดำเนินการ
• มีทางเลือกให้แก่ลูกค้า โดยสามารถทำการล็อคเงินในบัญชีโดยกำหนดไม่ให้ทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ มีการปลดล็อคได้ยากขึ้น และ/หรือ ปรับลดค่าวงเงินในการสแกนใบหน้าการทำธุรกรรมใน mobile banking
• เสนอบริการเพิ่มเติม เช่น การโอนเงินที่อาศัยบุคคลอื่นช่วยอนุมัติ (double authorization) / การโอนเงินเฉพาะรายชื่อที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เป็นต้น
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
การป้องกันภัยทุจริตทางการเงินเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐ สถาบันการเงิน และประชาชน การยกระดับมาตรการในครั้งนี้จะช่วยให้ระบบการเงินมีความปลอดภัยมากขึ้น และลดโอกาสที่มิจฉาชีพจะใช้ช่องโหว่ทางเทคโนโลยีในการก่ออาชญากรรม ร่วมกันติดตามและปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน เพื่อให้ธุรกรรมทางการเงินของทุกคนปลอดภัยยิ่งขึ้น
อ่านบทความอื่นๆ
การจัดตั้งบริษัทมหาชน
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย