การบริหารงาน แบบยืดหยุ่น ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากทีมโปรดักชั่นที่เป็นฟรีแลนซ์จะไปเลือกแขกว่าคนนี้น่าสนใจอย่างไร มีบ้านแบบไหน แต่ละสัปดาห์เขาจะนัดประชุมพรีเซนต์รายละเอียดให้เราฟัง
ทีมเราก็จะช่วยกันคอมเมนต์ แล้วดูว่าจะบริหารสิ่งที่ได้มาอย่างไรให้ลงตัวทั้งในแง่คอนเทนต์ คิวแขกรับเชิญ คิวของพิธีกร รวมถึงเรื่องการตลาด
เรื่องสำคัญในการทำงานกับฟรีแลนซ์คือ ทำให้เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเรา จะเกิดขึ้นเมื่องานสำเร็จ ดังนั้น ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้ครีเอต
ผมไม่เคลมว่าสร้างงานเองทั้งหมด ทุกอย่างเริ่มจากทีมน้องๆ พอน้องบอกคนอื่นว่าทำ ‘ตีท้ายครัว’ แค่นี้ก็รู้แล้วว่าเขาแฮปปี้
ทักษะนักแสดงที่ผมนำมาใช้ในงานบริหาร คือ ทักษะจัดการอารมณ์ บนเวทีอาจจะโหด ต้องด่าเขา แต่พอลงมา ผมจะกลับเป็นตัวเองทันที
เราเรียนรู้วิธีคิดของมนุษย์ ในฐานะตัวละคร เอาตรงนั้นมาทำความเข้าใจทีม เมื่อเข้าใจเขา ผมจะเข้าไปช่วยเสริมเขาได้ถูกจุด
จะปรับ Mindset0ของเขาอย่างไร นั่นคือสิ่งที่ยากที่สุด ผมเริ่มด้วยเรื่องของใจ เห็นใจคนที่ทำงานด้วย ถ้ามีบางเรื่องที่ช่วยทำให้ชีวิตเขาราบรื่นขึ้นได้ เราก็ทำ
เรื่องไหนที่รู้สึกว่าเป๋ก็ตบเข้ามาถ้าเรื่องไหนที่แตะไม่ได้ก็ปล่อยจะไม่แบก เพราะผมแก้ปัญหาให้ทุกคนไม่ได้
ตอนแรกมีโปรดักชันทีมเดียว แต่พอทำมา10 ปีก็รู้สึกว่าเขาเริ่มล้า เลยหาอีกทีมมาช่วย ผมว่าข้อดีของโมเดลนี้ คือได้ไอเดียที่สดใหม่ และได้แนวทางของงานที่หลากหลายขึ้น
เราจะได้วิธีการเล่าเรื่อง วิธีตัดต่อที่ต่างกันตามคาแรกเตอร์แต่ละทีม ขึ้นอยู่กับว่าแขกคนไหนเหมาะกับทีมไหน
บริษัท เงาะถอดรูป มีทีมงานไม่เยอะครับ รวมกันไม่ถึง 10 คน งานโปรดักชั่นจะเป็นทีม Freelance0ทั้งหมด ใช้ระบบการทำงานแบบนี้ตั้งแต่แรก เพราะบริษัทไม่ได้มีเงินทุนหนา
การประชุมเราใช้ระบบออนไลน์ ใช้วิธีนี้ตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ระบาด ทุกวันนี้แทบจะไม่มีใครเข้าออฟฟิศ