การให้โดยเสน่หา คือการที่บุคคลหนึ่งโอนทรัพย์สินของตนให้แก่อีกบุคคลหนึ่งโดยไม่มีสิ่งตอบแทน ซึ่งมีประเด็นทางกฎหมายที่น่าสนใจหลายประการ ธรรมนิติ จะพาไปติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้โดยเสน่หา หลักกฎหมาย และประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายเกี่ยวกับการให้โดยเสน่หา
กฎหมายกำหนดให้การให้โดยเสน่หาต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเพียงแค่สัญญาว่า “จะให้” ยังไม่ถือเป็นการให้ที่สมบูรณ์ และต้องเป็นการให้โดยเสน่หา ซึ่งอาจตีความได้ว่า ผู้ให้ต้องมีเจตนาบริสุทธิ์ที่จะให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน* ถ้าเป็นการให้อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิ์ต่างๆ จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ
*ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2468 มาตรา 521
ประเด็นทางภาษี
เงื่อนไขภาษีแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ทรัพย์สินที่มอบให้
2. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับและผู้ให้
ในกรณีที่เข้าเงื่อนไขภาษีจากการรับให้ (ส่วนที่ให้กรณีเสน่หาแต่มีมูลค่าเกินในแต่ละปี) ทางเลือกของผู้เสียภาษีเงินได้นั้น เลือกได้ระหว่าง “การนำมารวมคำนวณภาษี” หรือ “เสียภาษีตามมาตรา 48 (6) และ (7) แห่งประมวลรัษฏากร”
มาตรา 48 (6) แห่งประมวลรัษฏากร
การเสียภาษีตามมาตรา 48 (6) คือ ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้ส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ได้ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (8) ที่ได้รับจากการอุปการะหรือการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ที่ไม่ได้รับยกเว้น ตามมาตรา 42 (27)
มาตรา 48 (7) แห่งประมวลรัษฏากร
การเสียภาษีตามมาตรา 48 (7) คือ ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้ส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ได้ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (8) ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรสที่ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 (28)
การให้โดยเสน่หาเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาทั้งในด้านกฎหมายแพ่งและด้านภาษี ผู้ให้และผู้รับควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำความเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้การให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
อ่านเพิ่มเติมใน CPD&Account ฉบับเดือนธันวาคม 2567
พร้อมบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ โดยนักเขียนมากประสบการณ์
อ่านบทความอื่นๆ
จัดการสินสมรสอย่างไร? ให้หมดปัญหาชีวิตคู่ในอนาคต
สัญญาที่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ