หลายบริษัทรับนักศึกษาฝึกงานเข้ามาช่วยงาน แต่ยังมีข้อสงสัยว่าต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมหรือไม่ คำตอบขึ้นอยู่กับลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและนักศึกษาฝึกงาน หากไม่มีอำนาจบังคับบัญชาเหมือนลูกจ้างทั่วไป นักศึกษาฝึกงานก็ไม่เข้าข่าย “ลูกจ้าง” ตามกฎหมาย และนายจ้างไม่จำเป็นต้องส่งเงินสมทบให้กองทุนประกันสังคม
ความหมายของ “ลูกจ้าง”
“ลูกจ้าง” ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้าง โดยรับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน อันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
ลักษณะการทำงาน
การทำงานของนักเรียนและนักศึกษา มีความแตกต่างจากการทำงานของลูกจ้างทั่วไป เพราะนักศึกษามีอิสระในการเลือกว่าจะไปทำงานหรือไม่ โดยที่ไม่ต้องยื่นใบลา แต่แจ้งทางโทรศัพท์ได้ หากจะไม่ไปทำงาน และได้รับค่าตอบแทนตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงาน ไม่ได้กำหนดวันหยุดหรือวันลาเหมือนการทำงานในฐานะลูกจ้าง
ความสัมพันธ์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ต้องมีอำนาจบังคับบัญชาของนายจ้าง โดยลูกจ้างต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ข้อบังคับในการทำงาน ซึ่งนักศึกษาฝึกงานไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา หรือมอบหมายงานอันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาจ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
อ่านบทความเพิ่มเติม ใน HR Society Magazine ฉบับมีนาคม 2568
อ่านบทความอื่นๆ
ความสำคัญ และสิทธิประโยชน์ ของ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เริ่ม 1 ตุลาคม 2568
สิทธิประกันสังคมเริ่มคุ้มครองเมื่อใด เงื่อนไข