14 มิถุนายน 2562
ความปลอดภัยบนออนไลน์เป็นเรื่องที่ผู้ใช้งานให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลด้านการชำระเงิน ซึ่ง HTTP และ HTTPS เป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่งด้านความปลอดภัย
ผู้ที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ตคงจะเคยเจอกับปัญหาด้านความปลอดภัยใช่ไหมครับ บางเว็บไซต์เปิดมาจะเจอกับหน้าจอที่มีแถบสีแดงพร้อมแจ้งเตือน “เว็บไซต์นี้ไม่สามารถให้การเชื่อมต่อที่ปลอดภัย” หรือข้อความอื่นๆ ที่ไม่สามารถทำให้เข้าถึงเว็บไซต์ได้ หรือบางเว็บในแถบ URL จะพบข้อความ Not Secure หรือไม่ปลอดภัยด้านหน้า ซึ่งทำให้เป็นที่หวาดระแวงของบรรดาผู้ใช้งาน
โดยสาเหตุมาจากระบบความปลอดภัยของเว็บไซต์นั้นๆ สังเกตได้ว่าเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัยจะขึ้นต้นด้วย HTTP นั่นเองครับ ส่วนเว็บไซต์ที่ปลอดภัยจะเป็นการใช้งาน HTTPS ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ต่างกันอย่างไรมาดูกันครับ
HTTP (Hypertext Transport Protocol) เป็นโปรโตคอลสำหรับสื่อสารจะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมบนเบราว์เซอร์อย่าง Chrome, Firefox, Internet Explorer เพื่อเรียกดูข้อมูลหรือเว็บนั้นๆ เบราว์เซอร์จะใช้ HTTP เป็นตัวเรียกให้เซิร์ฟเวอร์ส่งข้อมูลมาให้เพื่อแสดงผลบนหน้าจอได้อย่างถูกต้อง โดยเป็นการส่งข้อมูลแบบ Clear text ไม่ได้ทำการเข้ารหัส ทำให้สามารถถูกดักจับและอ่านข้อมูลได้ง่าย
HTTPS (Hypertext Transfer Protocol over Secure Socket Layer หรือ Http over SSL) คือการเพิ่ม S หรือ Secure เข้ามาเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นนั่นเองครับ โดย HTTPS จะเป็น โปรโตคอลที่เข้ารหัสในการสื่อสาร โดยใช้ Asymmetric Algorithm ซึ่งหากมีการดักจับข้อมูลก็อ่านไม่รู้เรื่องอยู่ดีครับ
เช่นเราป้อนรหัส 12345678 อัลกอรีธึ่มจะเปลี่ยนเป็น XsR7o/86 เปลี่ยนโดยสิ้นเชิงแบบนี้ทำให้ผู้ไม่หวังดีเข้าถึงข้อมูลของเราไม่ได้นั่นเอง ซึ่งผู้ที่จะอ่านข้อมูลที่ถูกได้นั้นจะมีเพียงผู้ป้อนและผู้รับปลายทางเท่านั้น ทำให้นิยมใช้กับเว็บไซต์ที่ต้องการความปลอดภัยสูงอย่างธนาคาร เว็บที่ใช้บัตรเครดิต รวมถึงร้านค้าออนไลน์ด้วย
ทำให้ปัจจุบันผู้ประกอบการเริ่มนิยมติดตั้งใบรับรองความปลอดภัย SSL Certificate ให้กับเว็บไซต์มากขึ้น ซึ่งข้อดีของ HTTPS มีดังนี้
- เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้งาน
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์และธุรกิจ
- คะแนนอันดับ SEO ดีขึ้น
- มีลูกเล่น html ที่มากกว่า HTTP
- ป้องกันการถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดี
สำหรับเจ้าของเว็บไซต์ที่ต้องการอัพเดต เปลี่ยนแปลง HTTP เป็น HTTPS สามารถติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่ บริษัท ดีไอทีซี จำกัด 02-555-0999 อีเมล contact@ditc.co.th