กฎหมายน่ารู้ … “การบริหารทรัพยากรมนุษย์”

11 กันยายน 2562

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

เป็นกฎหมายที่มีความจำเป็นในเรื่องของการบริหารจัดการ “คน” ในองค์กร ตั้งแต่เริ่มแรก ในการจ้างบุคลากร ระหว่างการทำงานจนกระทั่งสิ้นสุดการทำงาน  ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการทำงานทั้งสิ้น ดังนั้น จึงอยากให้ท่านได้มาเรียนรู้ทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะสามารถแบ่งเป็นหลายอย่าง ที่พอเป็นแนวทางให้ท่านได้เข้าใจ ดังตัวอย่าง

กฎหมาย คุ้มครองแรงงาน

เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับในเรื่องสิทธิ หน้าที่ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง โดยกำหนดจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ  และการกำหนดในเรื่องของแรงงานหญิง แรงงานเด็ก หากนายจ้างกำหนดขึ้นขัดแย้งกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานย่อมเป็นโมฆะ

สัญญาจ้างแรงงาน

เป็นการจำกัดเรื่องเสรีภาพ ในการทำสัญญาจ้างลูกจ้าง เป็นข้อสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยส่วนใหญ่จ้างโดยการทำเป็นหนังสือ ซึ่งลูกจ้างตกลงทำงานให้แก่บุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “นายจ้าง” ต้องจ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้

กฎหมายประกันสังคม

เป็นกฎหมายที่กำหนดในเรื่องของหลักประกันแก่บุคคลในสังคม โดยมีการจ่ายเงินเข้ากองทุน แล้วเฉลี่ยคืนให้กับลูกจ้าง โดยแบ่งออกเป็น 7 กรณี ดังนี้ คือ

  1. กรณีเจ็บป่วย
  2. กรณีคลอดบุตร
  3. กรณีชราภาพ
  4. กรณีทุพพลภาพ
  5. กรณีสงเคราะห์บุตร
  6. กรณีตาย
  7. กรณีว่างงาน

พระราชบัญญัติเงินทดแทน

เป็นเงินที่จ่ายให้ลูกจ้างเป็นค่าทดแทน  รักษาพยาบาลเป็นเงินที่จ่ายให้ลูกจ้างตามสิทธิ  กรณีไม่สามารถปฏิบัติงานได้เนื่องจากการทำงาน และค่าทำศพ

พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพล้อมในการทำงาน

เป็นการพัฒนานิสัยในการทำงาน ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องระมัดระวังความปลอดภัยอยู่เสมอ หากขาดความระมัดระวัง มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของตนเอง และเพื่อนร่วมงาน และทรัพย์สินของบริษัทหรือองค์กร ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจ และปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยโดยเคร่งครัด ท่านจะปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง

พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน

โดยให้นายจ้างหรือสถานประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงาน  การฝึกให้บุคคลมีความรู้ความสามารถ ในวิชาชีพ มีศักยภาพในการพัฒนากำลังแรงงาน  และให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงาน  โดยผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบ คือผู้ประกอบการกิจการ ประเภทอุตสาหกรรม ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป มีหน้าที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นรายปีในอัตราร้อยละ 1 ของค่าจ้างขั้นต่ำ เว้นแต่จะจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ตามกฎหมายกำหนดไว้ ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของลูกจ้างทั้งหมด

 

พระราชบัญญัติพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ

นายจ้าง หรือ เจ้าของกิจการ หรือสถานประกอบการ ถ้ามีการรับคนพิการ เข้าทำงานหรือส่งเงินเข้ากองทุน ได้รับการยกเว้นภาษีร้อยละของจำนวนเงินค่าจ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการ

 

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์

เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เน้นเกี่ยวกับการสภาพการจ้างของลูกจ้าง การเลิกจ้าง และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างในสถานประกอบการ

 

เป็นยังไงบ้างคะ พอจะทราบเกี่ยวกับกฎหมายในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พอสังเขป เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดความรู้ ในแต่ละกฎหมาย เพื่อเป็นตัวช่วยในการบริหารจัดการ “ทรัพยากรมนุษย์” ในองค์กรได้อย่างถูกต้องและเที่ยงธรรม

————–

แหล่งที่มา : www.jobdst.com

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?