10 กรกฎาคม 2567
ลูกนอกสมรสมีสิทธิ รับมรดกจากพ่อหรือไม่?
บุตรนอกสมรส
บิดามารดาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดมานั้นจะเป็นบุตรนอกสมรส ของบิดา แต่เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอ
ซึ่งบุตรนอกสมรสนั้นไม่มีสิทธิรับมรดกของบิดา แต่อย่างไรก็ตามบุตรนอกสมรสก็อาจเกิดสิทธิรับ มรดกของบิดาได้ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้
1. บิดารับรองบุตร
บิดารับรองว่าบุตรคนดังกล่าวนั้นเป็นบุตรของตนเองตามความเป็นจริง
การรับรองนั้นอาจเป็นการรับรองโดย “พฤตินัย”
เช่น การแสดงดงออกต่อบุคคลอื่นว่าเป็นบุตรของตนเอง การออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียน ให้บุตรใช้นามสกุล การพามารดาที่ตั้งครรภ์ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
หรือเป็นการรับรองโดย “นิตินัย”
บิดาจดทะเบียนว่าบุตรนั้นเป็นบุตรของตนซึ่งจะต้องดำเนินการต่อนายทะเบียนและต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็ก
2. บิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง
บิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันหลังจากที่บุตรเกิดมาแล้ว
แม้ตอนที่เด็กเกิดนั้นบิดาและมารดายังมิได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลังจากที่บุตรนั้นเกิดขึ้น แล้ว บุตรก็เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา
3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
การที่ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรบุตรจะมีฐานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา
จากกรณีข้างต้น การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดานั้น จะ “มีผลย้อนไปนับตั้งแต่วันที่บุตรนั้นเกิด” และกฎหมายให้ถือว่าบุตรดังกล่าว นั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งทำให้ บุตรนั้นเกิดสิทธิในการรับมรดกของบิดาในฐานะทายาท โดยธรรม
3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
การที่ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรบุตรจะมีฐานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา
จากกรณีข้างต้น การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดานั้น จะ “มีผลย้อนไปนับตั้งแต่วันที่บุตรนั้นเกิด” และกฎหมายให้ถือว่าบุตรดังกล่าว นั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งทำให้ บุตรนั้นเกิดสิทธิในการรับมรดกของบิดาในฐานะทายาท โดยธรรม