08 พฤศจิกายน 2565
กองมรดก / พินัยกรรม คืออะไร ?
กองมรดก
ทรัพย์สิน
เช่น รถ เงิน เครื่องประดับ ของใช้ รวมถึงสิทธิที่ผูกพันอยู่กับทรัพย์ เช่น ภาระจำยอมในที่ดิน สิทธิครอบครองที่ดิน
สิทธิหน้าที่และความรับผิด
(ยกเว้นตามสภาพ เป็นเรื่องที่ผู้ตายทำได้คนเดียวเท่านั้น)
• สิทธิ เช่น สิทธิเรียกร้องค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยสิทธิเรียกร้องให้จ่ายหนี้
• หน้าที่ เช่น ต้องจ่ายหนี้ ต้องส่งของให้ลูกค้า
• ความรับผิด เช่น ค่าเสียจากการขับรถชน
*หากมีหนี้ ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่ากองมรดกที่ได้
พินัยกรรม
คำสั่งที่แสดงเจตนาก่อนตายว่าต้องการให้กองมรดกนั้นเป็นของใคร โดยสามารถทำพินัยกรรม ได้ 6 แบบ ดังนี้
• แบบธรรมดา
(ทำเป็นหนังสือ โดยเขียน/พิมพ์ พร้อมลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน)
• แบบเขียนเองทั้งฉบับ
(เขียนพินัยกรรมด้วยลายมือตัวเองทั้งฉบับ ไม่จำเป็นต้องมีพยาน)
• แบบเอกสารฝ่ายเมือง
(การทำพินัยกรรมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ พร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน)
• แบบเอกสารลับ
(มีการปิดผนึกพินัยกรรมพร้อมทั้งลงลายมือชื่อทับรอยผนึก
แล้วนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานพร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน)
• แบบทำด้วยวาจา
(กรณีเมื่อผู้ต้องการทำพินัยกรรมอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถทำพินัยกรรม
ตามแบบอื่นได้ แต่ต้องมีพยานรับฟังอย่างน้อย 2 คน)
• แบบทำตามกฎหมายต่างประเทศ
(เลือกทำตามแบบของกฎหมายประเทศที่ตนอยู่)
ถ้าไม่มีพินัยกรรม “เมื่อตาย มรดกของบุคคลนั้นจะตกทอดแก่ ทายาท”
ทายาทในที่นี้ หมายถึง ทายาทโดยธรรม
เครือญาติ
มีลำดับดังนี้
1. ผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน)
2. พ่อ แม่
3. พี่น้องแท้ๆ
4. พี่น้องคนละพ่อ คนละแม่
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรส
ที่ยังมีชีวิตอยู่
การแบ่งมรดก จะแบ่งตามลำดับทายาท
• ถ้ามีทายาทโดยธรรมหลายลำดับ ทายาทในลำดับต้นจะได้รับมรดกไปก่อน (ทายาทในลำดับรองลงมาไม่มีสิทธิได้รับมรดก)
o ยกเว้น ถ้ามีผู้สืบสันดาน พ่อแม่ สามารถรับมรดกเสมือนเป็นชั้นเดียวกัน
o ถ้ามีลูก หลาน เหลน (ลำดับผู้สืบสันดานเดียวกัน) ลูกจะได้รับมรดกก่อน
• ทายาทลำดับเดียวกัน มีสิทธิรับส่วนแบ่งเท่ากัน
• “คู่สมรส มีสิทธิรับมรดกเสมอ” แต่จะได้รับมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่า ต้องรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมประเภทญาติในลำดับใด
กรณีมีทั้ง ลำดับที่ 1 และ ลำดับที่ 2 ร่วมกัน คู่สมรสก็ได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน (หารเท่า)
ตัวอย่าง
ตัวอย่างที่ 1 W เจ้ามรดกเสียชีวิต
A B C (ลูก) ที่เป็นทายาทลำดับชั้น 1 และ T (คู่สมรส) จะเป็นคนได้มรดก โดยแบ่ง 4 ส่วนเท่ากัน
ตัวอย่างที่ 2 B เจ้ามรดกเสียชีวิต โดย T และ A เสียชีวิตแล้ว
เมื่อ B ไม่มีลูกและคู่สมรส W ที่เป็นทายาทลำดับชั้น 2 จะเป็นคนได้มรดก คนเดียวทั้งหมด
ตัวอย่างที่ 3 C เจ้ามรดกเสียชีวิต
S (ลูก) ที่เป็นทายาทลำดับชั้น 1 / M (คู่สมรส) และ W T (พ่อแม่) จะเป็นคนได้มรดก โดยแบ่ง 4 ส่วนเท่ากัน
ตัวอย่างที่ 4 T เจ้ามรดกเสียชีวิต โดย W A B C เสียชีวิตแล้ว
S (หลาน) ที่เป็นทายาทลำดับชั้น 1 จะเป็นคนได้มรดก คนเดียวทั้งหมด
ตัวอย่างที่ 5 A เจ้ามรดกเสียชีวิต
เมื่อ A ไม่มีลูก T W ที่เป็นทายาทลำดับชั้น 2 และ H คู่สมรส จะเป็นคนได้มรดก โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ H คู่สมรส จะได้ครึ่งหนึ่งของกองมรดก และ T W จะได้อีกครึ่งหนึ่ง