หนี้ของเจ้ามรดก ถือเป็นกองมรดกที่ทายาทจะต้องมีหน้าที่รับผิด
เจ้าหนี้ของเจ้ามรดก จะได้รับชำระหนี้จากกองมรดกเท่านั้น
หนี้ > กองมรดก รับผิดไม่เกินที่ได้รับจากกองมรดก
หนี้ < กองมรดก ชดใช้หนี้ทั้งหมดก่อนนำมาแบ่งกัน
มาตรา 1601 , 1734 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ก่อนแบ่งมรดก
เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกได้
หลังแบ่งมรดก
• เจ้าหนี้อาจเรียกให้ทายาทคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้ แต่ต้องไม่เกินส่วนที่ทายาทคนนั้นได้รับ
• ถ้าได้ใช้หนี้เกินส่วนของตนที่ต้องเฉลี่ยใช้หนี้ สามารถไล่เบี้ยทายาทคนอื่นได้
มาตรา 1738 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ลำดับหนี้ที่กองมรดกต้องชำระ
1. ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก
2. ค่าใช้จ่ายในการทำศพเจ้ามรดก
3. ค่าภาษีที่กองมรดกค้างชำระ
4. ค่าจ้างที่เจ้ามรดกค้างชำระแก่ลูกจ้าง
5. ค่าเครื่องอุปโภคอันจำเป็นประจำวันซึ่งส่งให้แก่เจ้ามรดก
6. หนี้สามัญของเจ้ามรดก
7. บำเหน็จของผู้จัดการมรดก
กรณีหนี้มีประกัน เช่น จำนอง จำนำ บุริมสิทธิอื่นๆ สามารถบังคับกับหลักประกันได้ทันที โดยไม่ต้องอยู่ในลำดับข้างต้น
เจ้าหนี้ ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ได้ ภายใน 1 ปี นับแต่รู้ว่าเจ้ามรดกเสียชีวิต หรือ ภายใน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
มาตรา 1739 , 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม