การจัดการสินค้าคงเหลืออย่างมีประสิทธิภาพเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในยุคที่การแข่งขันสูง การกำหนดปริมาณสินค้าที่เหมาะสมและการวางแผนจัดซื้ออย่างชาญฉลาดไม่เพียงช่วยลดต้นทุน แต่ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจกลยุทธ์การจัดการสินค้าคงเหลือในมุมมองของการจัดการทางบัญชี เพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพให้กับธุรกิจ
กำหนดปริมาณสินค้าที่เหมาะสม
การจัดการทางบัญชี
• รายงานการเคลื่อนไหวของสินค้าจากการบันทึกธุรกิจของกิจการ
• วิเคราะห์อัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังแต่ละประเภท/กลุ่มของสินค้า
ประโยชน์ : วางแผนจัดซื้อและการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการสินค้าของลูกค้า ช่วยให้กำหนดงบประมาณการสั่งซื้อให้ได้ต้นทุนต่ำที่สุด
วางแผนสั่งซื้อโดยหาค่า EOQ
การจัดการทางบัญชี
• รายงานการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนการผลิต
• รายงานการเคลื่อนไหวของสินค้า
ประโยชน์ : เพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต และลดต้นทุนต่อหน่วยในเชิงการวางแผนจัดซื้อ
*EOQ (Economic Order Quantity) คือ ปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัด
หารอบการสั่งซื้อสินค้าเหมาะสม
การจัดการทางบัญชี
• รายงานการเบิกจ่ายสินค้า
• รายงานการเคลื่อนไหวของสินค้าและวัตถุดิบ
• รายงานยอดขายประจำเดือน / ไตรมาส
• งบประมาณการผลิต / งบประมาณการขาย
ประโยชน์ : ทำให้ไม่เกิดการค้างของสินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหว และไม่ทำให้กระแสเงินสดไปจมอยู่กับสินค้าโดยไม่จำเป็น
ตรวจนับสินค้าคงคลังเสมอ
การจัดการทางบัญชี
• รายงานการตรวจนับสินค้าประจำวัน / เดือน / ไตรมาส / ปี
• รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ
• รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย
• รายงานสินค้า อะไหล่ที่ใช้ในการรับประกัน
ประโยชน์ : ป้องกันการรั่วไหล เลินเล่อ หรือฉ้อโกงจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง และเป็นการตรวจสภาพของสินค้าให้พร้อมส่งมอบแก่ลูกค้า
การจัดการสินค้าคงเหลือไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการควบคุมต้นทุน แต่ยังเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและความพึงพอใจของลูกค้า การใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม เช่น การคำนวณ EOQ หรือการตรวจนับสินค้าคงคลังอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสินค้าค้างสต็อกหรือขาดแคลน พร้อมเสริมสร้างกระบวนการทำงานให้ราบรื่นและคุ้มค่ามากขึ้น การวางแผนและติดตามอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
อ่านเพิ่มเติมใน CPD&Account ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2567
พร้อมบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ โดยนักเขียนมากประสบการณ์
อ่านบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ ลูกหนี้