10 ธันวาคม 2567
ภัยไซเบอร์คุกคามธุรกิจของคุณอยู่ทุกเมื่อ ธุรกิจของคุณพร้อมรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์หรือยัง? สถิติชี้ชัดว่าธุรกิจในไทยกำลังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการโจมตีเว็บไซต์และการขโมยข้อมูลสำคัญ มาปกป้องธุรกิจของคุณด้วย IT Audit ค้นพบวิธีการลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบ IT ขององค์กรของคุณได้ในบทความนี้
ภัยคุกคามทางไซเบอร์
จากสถิติพบการคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในไทยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
1. Gambling : 515 เหตุการณ์
2. Defacement0: 336 เหตุการณ์
3. Fake Website : 301 เหตุการณ์
การป้องกันภัยคุกคามจึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยเพิ่มมาตรการความปลอดภัย รวมถึงการทำ IT0Audit0อย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงได้
IT Audit คืออะไร?
การตรวจสอบประสิทธิภาพการจัดการและปกป้องข้อมูลสำคัญระบบ IT ขององค์กร
สิ่งที่ตรวจสอบ :
• โครงสร้างพื้นฐานระบบ IT
• มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
ประโยชน์ที่จะได้รับ : ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลสำคัญขององค์กร
ทำไม IT Audit จำเป็นในการตรวจสอบบัญชี
ข้อมูลทางบัญชีและการเงินส่วนใหญ่จัดเก็บและจัดการในระบบ IT จึงต้องตรวจว่าการจัดการในด้านเหล่านี้มีประสิทธิภาพหรือไม่
• มีการป้องกันการบุกรุกจากภายนอกที่เหมาะสม
• มีการปกป้อง0Data0Center0และ0Data0Warehouse0อย่างปลอดภัย
• การจัดการและควบคุมระบบ IT0ขององค์กรเป็นไปตามมาตรฐานสากล
ต้องเตรียมอะไรก่อนทำ IT Audit
1) กำหนดขอบเขตการตรวจสอบ โดยพิจารณาข้อมูลและระบบที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชี
2) จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ตรวจสอบเข้าใจระบบขององค์กรได้ชัดเจน
3) จัดอบรมพนักงานให้เข้าใจการตรวจสอบและการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้ตรวจสอบ
4) เลือกผู้ตรวจสอบที่เชี่ยวชาญด้าน IT Audit สำหรับงานบัญชี เพื่อให้ได้ผลการตรวจสอบที่น่าเชื่อถือ
การทำ IT Audit อย่างสม่ำเสมอ ไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ แต่ยังสร้างความมั่นใจให้กับองค์กรในการจัดการระบบ IT และข้อมูลสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณยังไม่ได้เริ่มต้น นี่คือเวลาที่ดีที่สุดที่จะทำ เพื่อปกป้องอนาคตของธุรกิจในโลกที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
อ่านบทความนี้เพิ่มเติมใน เอกสารภาษีอากร ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2567
พร้อมบทความที่น่าสนใจ โดยนักเขียนผู้เชี่ยวชาญกว่า 20 ท่าน
อ่านบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ Audit
Special Audit คืออะไร? ต่างจากการตรวจสอบปกติของผู้สอบบัญชีอย่างไร?
รู้จัก….อาชีพผู้สอบบัญชี (Auditor)