รู้หรือไม่ กิจการค้าร่วม กับ กิจการร่วมค้า แตกต่างกันอย่างไร?

 

ในโลกธุรกิจนอกจากจะมีลูกค้าที่เป็นองค์ประกอบสำคัญแล้ว ในบางธุรกิจอาจต้องมีคู่ค้าที่ร่วมดำเนินการด้วย โดยเฉพาะในการเข้าร่วมรับงานโครงการใหญ่ๆ ซึ่งบางธุรกิจอาจดำเนินการเพียงลำพังไม่ได้ ด้วยเพราะเงินทุนไม่เพียงพอ

หรือยังขาดอุปกรณ์ เทคโนโลยี และแรงงานที่มากพอ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องมองหาผู้ร่วมงานหรือคู่ค้าอื่นๆ เพื่อยกระดับศักยภาพและความสามารถในการรับงานเพื่อดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยการร่วมกันทำ

ธุรกิจมีหลากหลายวิธี แต่ในที่นี้เราจะพาไปรู้จักกับรูปแบบของ กิจการร่วมค้า และกิจการค้าร่วม ค่ะ

 

กิจการค้าร่วม กับ กิจการร่วมค้า แตกต่างกันอย่างไร?

1. กิจการร่วมค้า (Joint Venture)

เป็นการร่วมกันประกอบธุรกิจของบุคคลหรือกิจการตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยการร่วมกันนั้นจะต้องมีผู้ร่วมค้าฝ่ายหนึ่งเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทกับบริษัท หรือบริษัทกับบุคคลธรรมดา และมีการร่วมทุนกันในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เงินทุน

ทรัพย์สิน เทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องมือ แรงงาน บุคลากร รวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ

โดยการดำเนินการร่วมกันนี้จะเป็นไปภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาร่วมค้าเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน พร้อมกับมีการกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการดำเนินงานอย่างชัดเจนตามที่แต่ละฝ่ายยอมรับร่วมกันได้

กิจการร่วมค้านี้จะสิ้นสุดเมื่อโครงการที่ทำร่วมกันนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นลง แต่หากมีข้อผิดพลาดหรือความเสียหายก็จะต้องรับผิดชอบร่วมกันในนามของกิจการร่วมค้า หรือหากมีผลกำไรก็จะมีการจัดสรรปันส่วนตามสัดส่วนของการลงทุน

แบ่งกันไป

ประโยชน์ของกิจการร่วมค้า

• ช่วยให้คู่ค้าแต่ละฝ่ายได้ลดและกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ

• ช่วยประหยัดภาษีจากส่วนกำไร เพราะไม่ต้องนำมาคำนวณรวมกับรายได้ของบริษัทเดิม

• ช่วยให้ธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนหรือทรัพยากรต่างๆ สามารถเดินต่อไปได้

 

2. กิจการค้าร่วม (Consortium)

เป็นการร่วมกันดำเนินธุรกิจขององค์กร 2 องค์กร ขึ้นไป โดยเป็นการเข้าร่วมกันเพื่อให้งานหรือโครงการต่างๆ สำเร็จลุล่วงตามแผนธุรกิจที่ได้วางไว้ และแต่ละฝ่ายก็จะใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ หรือทรัพยากรในการทำงาน

เพื่อให้ส่วนที่ตนเองรับผิดชอบนั้นสำเร็จตามที่รับงานมา

สัญญาของกิจการค้าร่วมนี้จะเป็นเพียงการลงนามร่วมกันในการทำสัญญากับเจ้าของโครงการเท่านั้น โดยแบ่งแยกการทำงานของแต่ละฝ่ายไว้อย่างชัดเจน และจะไม่มีการร่วมทุน แบ่งปันผลกำไร การขาดทุน หรือรับผิดชอบความเสีย

หายต่างๆ ร่วมกัน และเมื่องานสำเร็จต่างฝ่ายต่างก็ออกใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินเฉพาะของบริษัทตนเท่านั้น

ประโยชน์ของกิจการค้าร่วม

• ผู้ประกอบการสามารถประเมินความสามารถของตนในการรับงานแต่ละส่วนได้

• หากงานมีการผิดพลาดก็รับผิดชอบเฉพาะส่วนงานของตนเองเท่านั้น

 

การแยกแยะและเห็นถึงความแตกต่างของกิจการค้าร่วม กับ กิจการร่วมค้า อย่างชัดเจนนี้ จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการร่วมทุนได้อย่างถูกต้อง และตรงตามความสามารถของธุรกิจตนเองมากที่สุด รวม

ทั้งยังจัดสรรส่วนของเงินทุนและทรัพยากรด้านต่างๆ ได้อย่างดี ทำให้รับงานโครงการต่างๆ ได้มากขึ้น

 

Tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?