10 กรกฎาคม 2567
รู้จักกับแรงงานที่รับงานไปทำที่บ้าน
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553
อะไรคือ งานที่รับไปทำที่บ้าน ?
● งานในกิจการอุตสาหกรรม / งานอื่นในกฎกระทรวง
● ผู้จ้างงานมอบให้ไปทำที่บ้าน
● เพื่อเอาไป ผลิต / ประกอบ
● นอกสถานประกอบกิจการของผู้จ้างงาน
งานที่ ห้าม ! รับไปทำที่บ้าน
● งานที่เกี่ยวกับความร้อน เช่น งานที่มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ เกิน 34 องศาเซลเซียส ตลอด 2 ชั่วโมงทำงานติดต่อกัน
● งานเกี่ยวกับเลื่อยสายพาน
● งานที่ก่อให้เกิดเสียงดัง ที่ผู้รับงานต้องสัมผัสระดับเสียงเฉลี่ยเกิน 85 เดซิเบล ตลอด 8 ชั่วโมงทำงานติดต่อกัน
ลักษณะของงานที่รับไปทำที่บ้าน
● เป็นงานที่ไม่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อนในการผลิต
● มีการตัดขั้นตอนบางขั้นตอน หรือชิ้นส่วนของงานบางชิ้น ไปทำการผลิตหรือผลิตทั้งหมด
● เป็นงานที่สามารถเรียนรู้ได้ง่าย
● เป็นงานที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (ใช้แรงงานคนทำการผลิตมากกว่าใช้เครื่องจักร)
ประเภทของงานที่รับไปทำที่บ้าน
งานที่ผลิต/ประกอบ ขึ้นเพื่อใช้ภายในประเทศ เพื่อการส่งออก เช่น กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด วิกผม ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น
ค่าตอบแทนของงานที่รับไปทำที่บ้าน
● กรณีงานที่รับไปทำที่บ้านมี ลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกัน และปริมาณเท่ากัน
● ผู้จ้างงานต้องกำหนดค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน (ต้องไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ)
ตัวอย่างการคำนวณค่าตอบแทน
● สถานประกอบกิจการตัดเย็บเสื้อยืด
● มีการจ้างงานลูกจ้างรายวัน วันละ 350 บาท (อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 331 บาท
● ชิ้นงานเฉลี่ยที่ลูกจ้างทำได้ ภายใน 8 ชั่วโมง คือ 10 ชิ้น