11 กุมภาพันธ์ 2565
ฆ่าคนตายเหมือนกัน แต่รับโทษต่างกัน… แต่ละกรณีรับโทษอย่างไรบ้าง ? มาดูกันครับ
ประมวลกฎหมายอาญา “ความผิดต่อชีวิต”
• ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288
• ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289
• ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290
• ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
• ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 292
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288
กระทำโดยเจตนาให้ผู้อื่นถูกฆ่า ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 – 20 ปี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289
1. ฆ่าบุพการี
2. ฆ่าเจ้าพนักงาน ที่ทำตามหน้าที่
3. ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ที่ทำตามหน้าที่
4. ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน *
5. ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย *
6. ฆ่าผู้อื่น เพื่อความสะดวกในการทำผิด
7. ฆ่าผู้อื่น เพื่อปกปิดความผิดของตัวเอง
ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มาตรา 289 (4)
กระทำการจ้างวานฆ่าผู้อื่น วางแผนฆ่า เตรียมการ จัดเตรียมยานพาหนะเพื่อใช้ไปฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต
ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย มาตรา 289 (5)
• การฆ่าโดยทรมาน
หมายถึง การฆ่าไม่ต้องการให้ตายทันที แต่ทำให้ผู้ตาย ได้รับความลำบากอย่างสาหัสจนถึงแก่ความตายในที่สุด
ตัวอย่างการฆ่าโดยทรมาน
นาย A กระทำการฆ่า นาย B โดยการใช้ค้อนทุบบริเวณหัว แล้วปล่อยให้ นาย B ตายอย่างช้า ๆ ต้องระวางโทษประหารชีวิต
• การฆ่าโดยทารุณโหดร้าย
หมายถึง ฆ่าโดยวิธีโหดร้ายมากกว่าการที่ทำให้ตายโดยทั่วไป
ตัวอย่างการฆ่าโดยทารุณโหดร้าย
นาย A กระทำการฆ่า นาย B โดยการใช้ค้อนทุบบริเวณหัวหลายครั้งจนนับไม่ถ้วน จนนาย B ถึงแก่ความตาย หรือ นาง C กระทำการ ฆ่ายกครัว ครอบครัวนาง C ต้องระวางโทษประหารชีวิต
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290
กระทำโดยไม่ได้เจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 – 15 ปี ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะตามมาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 – 20 ปี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
กระทำโดยประมาท และเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 292
กระทำโดยทารุณ แก่บุคคลซึ่งต้องพึ่งตน ในการดำรงชีพ เพื่อให้บุคคลนั้นฆ่าตนเอง หรือพยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 14,000 บาท