“เลิกจ้าง/ลดจำนวนการจ้าง” แบบกระทันหัน อีกหนึ่งผลกระทบจากโควิด-19 นายจ้าง ลูกจ้าง ต้องเตรียมรับมืออย่างไร ? ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

27 สิงหาคม 2564

 

สถิติการจดทะเบียนเลิกกิจการ ปี 2564

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาถึงปี 64 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างรุนแรง มีหลายแห่งต้องปิดกิจการลง   ซึ่งจากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีรายงานตัวเลขยอดจดทะเบียนเลิกกิจการ (ในช่วง 4 เดือน แรก) ของปี 2564 สูงถึง 3,090 ราย

การปรับตัวในหลายธุรกิจ

มีประเด็นหนึ่งที่หลายธุรกิจหันมาโฟกัสกันมากขึ้น นั่นคือ ‘การบริหารจัดการกำลังคน’ เช่น การดูแลช่วยเหลือพนักงาน การรักษาจำนวนพนักงานไว้  การจ้างแรงงานเพิ่ม ยังรวมถึง การประกาศเลิกจ้าง  ซึ่งถือเป็นอีกเรื่องสำคัญที่กิจการต้องตัดสินใจท่ามกลางวิกฤตโควิดนี้

 

เลิกจ้างพนักงาน ต้องทำอย่างไรบ้าง ?

สิ่งที่นายจ้างต้องปฏิบัติเมื่อเลิกจ้าง ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ข้อ 1 :  บอกกล่าวให้พนักงานทราบล่วงหน้า

กรณีสัญญาจ้างไม่กำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอน นายจ้างจะต้องบอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนจะถึง  งวดการจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่ง  ซึ่งอาจทำด้วยวาจาหรือ ทำเป็นหนังสือก็ได้ ในทางการจัดการที่ดีควรจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อความชัดเจนไม่เกิดการโต้เถียงภายหลัง

ข้อ 2 :  จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย

การนับอายุงานของลูกจ้าง นับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มปฏิบัติงานจนถึงวันสุดท้ายของการทำงาน หากครบ 120 วันติดต่อกัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ถ้าไม่ครบ 120 วัน หรือทำครบ 120 วันแต่ไม่ต่อเนื่องกัน นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

 

กรณีดังนี้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

1. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

4. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน  ระเบียบ  หรือคำสั่งของนายจ้าง อันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน (หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด)

5. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร

6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในกรณีนี้ ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

 

สิทธิที่ลูกจ้างต้องได้รับ เมื่อบริษัทเลิกจ้าง

ค่าชดเชยเลิกจ้าง”

ข้อ 1 :  เงินค่าตกใจ

กรณีเป็นสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา  หากนายจ้างบอกเลิกสัญญา โดยไม่แจ้ง  ให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้าง 1 งวดค่าจ้าง ให้แก่ลูกจ้าง

ข้อ 2 :  เงินชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง

เมื่อถูกให้ออกจากงานโดยไม่มีความผิดและไม่ได้สมัครใจออกเอง ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับค่าชดเชย ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเดือนและอายุการทำงานของแต่ละคน โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541

 

สนใจสั่งซื้อหนังสือได้ที่ m.me/Bookdharmniti

 

 

กฎหมายแรงงานเกี่ยวกับการเลิกจ้าง (เล่มเดี่ยว)

▪️ Update ล่าสุด ตามกฎหมายแรงงาน 2564

▪️ อธิบายความกฎหมาย ประกอบกับ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้เข้าใจได้ถูกต้อง

▪️ สามารถนำไปใช้อย่างเป็นธรรม เกิดประโยชน์ต่อลูกจ้างและนายจ้าง

✅ราคา .- /ค่าส่ง 40.-

ดูข้อมูลหนังสือเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3wHuutR

 

 

ชุดหนังสือครอบคลุมทุกเรื่อง ‘กฎหมายแรงงาน’

✅ราคาพิเศษ 590 บาท  ส่งฟรี❗

(จากปกติ 620.- + ค่าส่ง 60.-)

ดูข้อมูลหนังสือเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3yOy3QA

 

 

tag

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?