เตรียมรู้จักกับร่างกฎหมาย “ Lemon Law ”

“Lemon Law”

พ.ร.บ. ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าเป็นกฎหมายที่กำหนดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจ (ผู้ขาย)สำหรับความชำรุดบกพร่องของสินค้า

บังคับใช้กับ

• การซื้อขาย/เช่าซื้อ

• เครื่องใช้ไฟฟ้า/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

• รถยนต์/รถจักรยานยนต์ ส่วนบุคคล

• สินค้าอื่นที่อาจกำหนดเพิ่มเติม

ไม่บังคับใช้กับ

• สัญญาที่เกิดขึ้นก่อนที่กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับ

• สัญญาการขาย/เช่าซื้อสินค้าใช้แล้ว

• การขาย/เช่าซื้อสินค้าตามสภาพ

• การขายทอดตลาด

ผู้ขายต้องรับผิดชอบ

• ภายใน 2 ปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า

• ไม่ว่าผู้ขายจะรู้ถึงความชำรุดบกพร่องนั้นหรือไม่ก็ตาม

ผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบ

กรณีที่ผู้ซื้อ

• รู้ถึงความชำรุดบกพร่องอยู่แล้วในขณะซื้อ

• ดัดแปลงสินค้าเอง

• ไม่ปฏิบัติตามคู่มือการใช้งาน

ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้อง

ให้ซ่อมแซม (มาตรา 7)

• ถ้าผู้ขายซ่อมแซมภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับ ไว้ซ่อมแซม ผู้ซื้อจะไม่ยอมรับสินค้า ที่ซ่อมแซมดีแล้ว นั้นไม่ได้

• ผู้ขายอาจเปลี่ยนสินค้าให้แทนการซ่อม หากเป็นภาระเกินควร กรณีที่มีการเปลี่ยนผู้ซื้อจะไม่ยอมรับสินค่าที่เปลี่ยนนั้นไม่ได้

• ถ้าผู้ขายซ่อมเกิน 60 วัน / ปฏิเสธให้ซ่อม / ไม่เปลี่ยนสินค้าให้ ผู้ซื้อมีสิทธิขอลดราคา / เลิกสัญญา

เปลี่ยนสินค้า (มาตรา 8)

• กรณีเรียกให้เปลี่ยนสินค้า ผู้ขายอาจเลือกซ่อมก่อนได้ และถ้าผู้ขายซ่อมภายใน 60 วัน ผู้ซื้อจะไม่ยอมรับสินค้าที่ซ่อมไม่ได้

• ถ้าผู้ขายปฏิเสธที่จะเปลี่ยน / ซ่อม หรือ ซ่อมเกิน 60 วัน ผู้ซื้อมีสิทธิขอลดราคา / เลิกสัญญา

ลดราคา (มาตรา 9)

• กรณีขอลดราคา ผู้ขายอาจเลือกซ่อม / เปลี่ยน สินค้าประเภทและชนิดเดียวกันให้ก่อนได้
(ให้นำเรื่องการซ่อม/เปลี่ยนมาใช้บังคับ)

• ถ้าผู้ขาย ปฏิเสธ การลดราคา / ซ่อม / เปลี่ยน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญา

เลิกสัญญา (มาตรา 10) 

• กรณีผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญา (ตามมาตรา 7 – 9) ให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่มีสิทธิ

• ผู้ขายมีสิทธิคิดค่าเสื่อมที่เกิดจากการใช้สินค้า ในวันที่ได้รับสินค้าคืน โดยหักจากเงินที่ต้องคืนผู้ซื้อ

Tag
No tags defined

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?