23 มิถุนายน 2564
จากประเด็นที่มีเจ้าหน้าที่ทำการล่อซื้อน้ำส้ม ขอดูใบอนุญาต และเรียกค่าปรับจำนวนหนึ่ง หลาย ๆ คนสงสัยว่า “ทำน้ำส้มขายต้องมีใบอนุญาตด้วยหรือ ?” มาทำความเข้าใจกันครับ
การจดทะเบียน
การผลิตเครื่องดื่มบรรจุขวดที่ปิดสนิท ต้องปฏิบัติตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข และการผลิตเพื่อส่งไปจำหน่ายยังที่ต่าง ๆ ถือว่าสถานที่ผลิตเป็นโรงงาน จะต้องมีการจดทะเบียน และขอเลข อย. เพื่อตรวจสอบคุณภาพก่อนทำการผลิตเพื่อจำหน่าย
คำว่า น้ำส้ม 100%
หากต้องการจะทำฉลากที่เขียนว่า น้ำส้ม 100% จะต้องปฏิบัติตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข โดยต้องนำผลิตภัณฑ์ไปจดแจ้งเพื่อขอเลข อย. และห้ามใส่น้ำตาล เกลือ หรือน้ำเปล่า ในตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของ อย.
ร้านค้า หรือรถเข็น ที่คั้นสด ๆ แล้วจำหน่าย น้ำส้ม ทันที ต้องทำอย่างไร ?
จะต้องขออนุญาตจำหน่ายจากท้องที่ก่อน เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบมาตรฐาน ในการผลิต ตามที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ในการผลิตขนาดใหญ่ (Mass Product) การใส่สารให้ความหวาน หรือน้ำตาล เพิ่มเติมลงไปใน น้ำส้ม จะต้องเสีย “ภาษีความหวาน” กับกรมสรรพสามิต
1. นำผลิตภัณฑ์นั้นไปจดแจ้งเพื่อขอเลข อย.
2. นำไปขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพสามิตเพื่อเสียภาษีความหวาน
ภาษีความหวาน คืออะไร ?
คือภาษีที่ผู้ประกอบการจะต้องเสียให้กับกรมสรรพสามิตในการที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณน้ำตาล เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียภาษีความหวานนี้เพิ่มเติมจากการเสียภาษีตามปกติ
อัตราภาษี
ปริมาณน้ำตาล
ไม่เกิน 6 กรัม/100 มล. ได้รับการยกเว้นภาษี
10 – 14 กรัม/100 มล. เสียภาษี 1 บาท/ลิตร
14 – 18 กรัม/100 มล. เสียภาษี 3 บาท/ลิตร
18 กรัมขึ้นไป/100 มล. เสียภาษี 5 บาท/ลิตร