ใครเป็นผู้จัดการมรดกได้ และใครเป็นไม่ได้ ?
บุคคลที่มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก
1. ทายาท
• ทายาทโดยชอบธรรม
• ผู้รับพินัยกรรม
2. ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก หรือสามีภรรยาซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมีทรัพย์สินร่วมกัน
3. พนักงานอัยการ
บุคคลใดไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้
• ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
• บุคคลวิกลจริต หรือบุคคล ที่ศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
• บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
หน้าที่ของผู้จัดการมรดก มีอะไรบ้าง?
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว
• จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก ภายใน 15 วัน และต้องจัดทำให้เสร็จภายใน 1 เดือน หากไม่เสร็จสามารถขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อศาลได้
• ประกอบด้วย รายการแสดงทรัพย์สิน สิทธิเรียกร้อง เงิน มูลค่า และแจ้งจำนวนเจ้าหนี้ เป็นเงินรวมเท่าใด
• บัญชีทรัพย์มรดก ต้องมีพยานรับรอง 2 คน โดยต้องเป็นทายาทที่มีส่วนได้เสียในกองมรดก
• ถ้าไม่ได้จัดทำให้เสร็จภายในกำหนดเวลา และตามแบบที่กำหนด หรือบัญชีไม่เป็นที่พอใจแก่ศาล เพราะความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง การทุจริต หรือความไม่สามารถของผู้จัดการมรดก ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกได้
• ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดก เว้นแต่พินัยกรรมหรือทายาทจำนวนข้างมากจะได้กำหนดไว้
• ผู้จัดการมรดกจะทำพินัยกรรมใดๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้ เว้นแต่พินัยกรรมจะอนุญาตไว้หรือได้รับอนุญาตจากศาล
• ผู้จัดการมรดกต้องจัดการมรดกด้วยตนเอง
• ถ้าผู้จัดการมรดกเข้าทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก โดยเห็นแก่ทรัพย์สินอย่างใดๆ หรือประโยชน์อื่นใดที่บุคคลภายนอกได้ให้ หรือได้ให้คำมั่นว่าให้เป็นลาภส่วนตัว ย่อมไม่ผูกพันทายาท เว้นแต่ทายาทจะได้ยินยอมด้วย
• ต้องแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรม ภายในเวลาอันสมควร
• ทายาทจะต้องบอกทรัพย์สินมรดกและหนี้สินของผู้ตาย ตามที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดก มีได้กี่คน
ผู้จัดการมรดกจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
• กรณีมีผู้จัดการมรดกหลายคน การกระทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องถือเอาเสียงข้างมาก เว้นแต่มีข้อกำหนดพินัยกรรมอื่น
• ถ้าเสียงเท่ากันเมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
• นิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกคนใดคนหนึ่ง กระทำไปโดยพลการ โดยไม่ถือเสียงข้างมากไม่ผูกพันกองมรดก
• นิติกรรมนั้นเสียเปล่า แม้ผู้จัดการมรดกที่เหลือจะมาให้ ความยินยอมในภายหลัง ไม่ทำให้นิติกรรมนั้นสมบูรณ์ขึ้นมาได้
เหตุใดบ้างที่ทำให้การผู้จัดการมรดกสิ้นสุดลง
เมื่อผู้จัดการมรดกตาย
• สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกนั้นเป็นสิทธิเฉพาะตัว
• ผู้จัดการมรดกตายลง ทายาทของผู้จัดการมรดกไม่สามารถ เข้ามาทำหน้าที่ต่อไปได้
เมื่อผู้จัดการมรดกลาออก
• กรณีเป็นผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล การลาออกจะมีผลต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล
• หากยังไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ลาออกแล้วความเป็นผู้จัดการมรดกก็ยังไม่สิ้นสุดลง หากมีความเสียหายเกิดขึ้น เพราะละเลย ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ในระหว่างนี้ ผู้จัดการมรดกก็ต้องรับผิดชอบ
ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก
• คำร้องของทายาทคนอื่น
ผู้จัดการมรดกตกเป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติต้องห้าม
• เช่น บุคคลล้มละลาย บุคคลวิกลจริต หรือเสมือนไร้ความสามารถ ทำให้ความเป็นผู้จัดการมรดกก็สิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ
การจัดการมรดกสิ้นสุดลง
• นับตั้งแต่ผู้จัดการมรดกได้โอนมรดก “ทั้งหมด” ให้กับทายาทไป โดยเป็นการเริ่มนับอายุความจัดการมรดก 5 ปี
ผู้จัดการมรดกตาย ต้องตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่หรือไม่
• ผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับการแต่งตั้ง หากผู้จัดการมรดกตายก่อนจัดการมรดกเสร็จสิ้นจะต้องร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ และไม่สามารถเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้
• กรณีมีผู้จัดการมรดกหลายคนตามคำสั่งศาล เมื่อผู้จัดการคนใด คนหนึ่งเสียชีวิต ผู้จัดการมรดกร่วมจะจัดการมรดกต่อไปไม่ได้ หากยังไม่ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้จัดการที่เหลือเป็นผู้จัดการต่อไป ดังนั้น ผู้จัดการมรดกที่เหลือต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมให้จัดการมรดกได้โดยลำพังก่อน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2516)
เอกสารการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก มีอะไรบ้าง ?
เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
1. เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับเจ้ามรดก เช่น สูติบัตร ทะเบียนสมรส ทะเบียนบ้าน
2. ใบมรณบัตรของเจ้ามรดก
3. เอกสาร หรือทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์มรดก เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) บัญชีธนาคาร ทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น
4. บัญชีเครือญาติของเจ้ามรดก
5. หนังสือยินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดกจากทายาท
6. พินัยกรรม (หากมี)
7. หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (หากมี)
ขั้นตอนการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก มีอะไรบ้าง ?
ขั้นตอนการดำเนินการ
• ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง ต้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลในขณะถึงแก่ความตาย
• แต่หากเจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตอำนาจศาล
• เมื่อยื่นคำร้องแล้ว ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องประมาณ 2 เดือน
ผู้จัดการมรดก ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยดำเนินการเกี่ยวกับมรดกต่างๆ ให้ถูกจัดสรรอย่างลงตัว ทั้งทรัพย์สินที่ต้องส่งต่อแก่ทายาท หรือการจัดการเรื่องหนี้สินของผู้ตาย โดยหากผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ ก็สามารถจัดการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น แต่หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ต้องดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอน โดยอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พินัยกรรม…หากไม่ได้ทำไว้ใครมีสิทธิ์รับมรดกและใช้หนี้แทน?