การควบรวมกิจการ
ควบรวมกิจการ คือ นิติบุคคลตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป มีการโอนกิจการหรือ ทรัพย์สินหรือ หุ้นทั้งหมดให้แก่กันไม่ว่าในระดับผู้ถือหุ้นหรือในระดับบริษัท
การควบรวมกิจการ สามารถทำได้ 4 วิธี
1. การควบกิจการ
การรวมกิจการโดย Merger คือ การกลืนอีกกิจการหนึ่งเข้าไปคงเหลือไว้เพียงกิจการใดกิจการหนึ่ง ไม่ได้มีบริษัทใหม่เกิดขึ้นซึ่งกิจการที่คงอยู่นั้น
บริษัท A + บริษัท B = บริษัท A หรือ บริษัท B
2. การซื้อกิจการ
การได้มาซึ่งหุ้น
การเข้าไปซื้อหุ้นทั้งหมดหรือบางส่วน โดยการชำระค่าหุ้นอาจเป็นเงินสด หรือทรัพย์สินอื่น ภายใต้กฎหมายบัญญัติไว้
บริษัท A < แลกเปลี่ยนเงินสดกับหุ้น หรือ แลกเปลี่ยนหุ้นกับหุ้น > บริษัท B
การได้มาซึ่งสินทรัพย์
กิจการหนึ่งตกลงซื้อสินทรัพย์ทั้งหมด หรือบางส่วนของ
อีกกิจการหนึ่งในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งกิจการที่จำหน่ายสินทรัพย์ออกไปอาจจะดำรงอยู่ต่อไปหรือเลิกกิจการไปก็ได้
บริษัท A >>> ซื้อสินทรัพย์ของบริษัท B >>> บริษัท B
บริษัท B >>> โอนสินทรัพย์ / กิจการ / ลูกหนี้ / พนักงาน >>> บริษัท A
3. การควบรวมบริษัท ตาม ป.พ.พ และ พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535*
กิจการเดิมตั้งแต่ 2 กิจการ (บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด) ขึ้นไป ควบรวมกันเป็นบริษัทใหม่และกิจการเดิมเลิกกิจการไป
บริษัท A + บริษัท B = บริษัท C
4. การควบรวมกิจการที่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติรองรับไว้
● พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
● พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505
● พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522
● พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
● พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
● พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544