24 กุมภาพันธ์ 2566
Q : ซื้อประกันหรือกองทุน หลังวันที่ 31 ธ.ค. ก็นำมาใช้ยื่นภาษีปีนี้ได้
A : ผิด ทำประกันหรือลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ต้องทำก่อนวันที่ 31 ธ.ค. ในปีภาษีเท่านั้น
Q : ค่าลดหย่อนบิดามารดา ไม่จำกัดอายุ มีรายได้หรือไม่มี ก็ลดหย่อนได้
A : ผิด ลดหย่อนได้ กรณีบิดามารดา ไม่มีรายได้ หรือ รายได้ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อปี
Q : ค่าลดหย่อนบุตร ลดหย่อนได้ตลอดชีวิตของบุตร
A : ผิด ต้องเป็บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเท่านั้น แต่หากบุตรเป็นคนไร้ความสามารถ ก็จะสามารถลดหย่อนกรณีทุพพลภาพได้อีก 60,000 บาท
Q : มีลูกแฝด ลดหย่อนบุตรได้แค่คนเดียวเท่านั้น
A : ผิด มีลูกแฝด ถ้าเกิดตั้งแต่ปี 2561 คนแรกลดหย่อนได้ 30,000 บาท คนที่สอง 60,000 บาท รวมทั้งปีนั้น เป็น 90,000 บาท (ถ้าเกิดก่อนปี 2561 ลดได้คนละ 30,000)
Q : A : ผิด ต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ไม่เกิน 10%
บริจาคสิ่งของ ก็ใช้ลดหย่อนได้
Q : SSF, RMF ลดหย่อนได้อัตโนมัติ ไม่ต้องแจ้งความประสงค์
A : ผิด ตั้งแต่ปีภาษี 2565 เป็นต้นไป ต้องแจ้งความประสงค์กับ บลจ. เพื่อให้ส่งข้อมูลไปสรรพากร ถ้าไม่แจ้ง ก็ลดหย่อนไม่ได้
Q : รายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี ไม่ต้องยื่นก็ได้
A : ผิด ถ้าเงินเดือนเกิน 10,000 บาท กฎหมายบังคับว่า ต้องยื่นภาษี
Q : ยื่นภาษีผิด แล้วจะแก้ไขไม่ได้
A : ผิด เมื่อยื่นภาษีไปแล้ว มีข้อมูลที่ผิดพลาด สามารถยื่นแก้ไขได้ ภายใน 3 ปี
Q : ถ้าไม่สมัครพร้อมเพย์จะไม่ได้คืนภาษี
A : ผิด แม้จะไม่ได้สมัครพร้อมเพย์ ก็ได้คืนภาษี โดนนำหนังสือแจ้งคืนภาษีที่ได้รับจากกรมสรรพากร พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน ไปติดต่อธนาคารกรุงไทย หรือ ธ.ก.ส. เพื่อนำเงินเข้าบัญชี
Q : การหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ การจ่ายภาษีแล้ว
A : ผิด การถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายถือว่าเป็นนำส่งภาษีล่วงหน้า ต้องนำมาหักออกจากภาษีเงินได้ประจำปีที่คำนวณได้ ซึ่งส่วนต่างที่เกิดขึ้นเป็นภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมหรือขอคืนแล้วแต่กรณี ดังนั้นการหักภาษี ณ ที่จ่ายจึงไม่ใช่การจ่ายภาษี
Q : การหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ใช้ลดหย่อนได้ตามจำนวน แม้มีผู้ร่วมกันหลายคน
A : ผิด การหักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมค่าที่อยู่อาศัย จะลดหย่อนตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงในปีภาษี แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีที่มีผู้กู้ร่วมกันหลายคนซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต้องนำจำนวนเงินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมมาหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้กู้ร่วมกัน
Q : ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Freelance) ไม่จำเป็นต้องติดตามขอหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
A : ผิด ควรขอหนังสือ 50 ทวิ เมื่อเสร็จสิ้นแต่ละงานเพื่อจะได้รวบรวมหลักฐานการหักภาษีได้ครบถ้วนไม่ตกหล่น