19 กรกฎาคม 2567
เรื่องที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA
เรื่องที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA
Q : กรณีการถ่ายภาพ & วีดีโอ ติดหน้าคนอื่น
A : หากการถ่ายภาพ & วีดีโอที่ถ่ายติดหน้าคนอื่นนั้น ถ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว โดยไม่ได้เจตนาที่จะนำภาพบุคคลอื่นไปใช้ในทางการค้าหรือไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย สามารถทำได้
Q : กรณีการโพสต์รูปภาพ & วีดีโอที่ติดหน้าคนอื่น
A : หากเป็นการโพสต์เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว สามารถโพสต์ได้ (ต้องไม่เป็นการโพสต์เพื่อการค้าหรือมีเจตนาทำให้ผู้อื่นเสียหาย)
Q : กรณีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในบ้าน
A : ตลอด 24 ชั่วโมง หากติดตั้งเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยของเจ้าของบ้าน และภายในบริเวณบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน
Q : กรณีกล้องวีดีโอหน้ารถที่ถ่ายเพื่อเก็บข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง
A : หากนำวีดีโอที่ถ่ายเก็บไว้ ไปเผยแพร่ นอกเหนือจากการใช้เป็นหลักฐานเพื่อยืนยันความผิดในทางกฎหมายแล้ว มีความเสี่ยงเป็นการละเมิดบุคคลอื่น
Q : การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลต้องขอความยินยอมทุกครั้ง ?
A : หากเป็นการใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่เจ้าของข้อมูลเคยให้ความยินยอมไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมใหม่ทุกครั้ง แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ข้อมูลใหม่ ผู้ที่จะใช้ข้อมูลต้องขอความยินยอมกับเจ้าของข้อมูลใหม่ด้วย
Q : PDPA ใช้บังคับแค่กับผู้ประกอบการและภาคธุรกิจเท่านั้น ?
A : PDPA เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงใช้บังคับกับทุกคน ไม่ว่าจะเป็น ประชาชนทั่วไป ภาครัฐ
หรือเอกชน
ยกตัวอย่าง การซื้อของออนไลน์ แม่ค้าจะได้ข้อมูลที่อยู่เพื่อจัดส่งสินค้า ส่วนคนซื้อจะได้ ชื่อ เลขบัญชีของแม่ค้า ทำให้แม่ค้า และคนซื้อต้องปฏิบัติตาม PDPA
Q : เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้ง ?
A : ไม่ต้องให้ความยินยอมใหม่ทุกครั้ง หากเป็นการใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่เคยให้ความยินยอมไปแล้ว แต่เจ้าของข้อมูลสามารถเพิกถอนการให้ความยินยอมที่เคยให้ไปแล้วได้
และกรณีที่ไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หากเป็นการใช้ข้อมูล ตามวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
(1) เป็นการทำตามสัญญา
(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล
(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]