รู้ยัง! สัญญากู้ยืมเงิน เขียนเองครบ … จบได้ในแผ่นเดียว

22 กันยายน 2564

รู้หรือไม่! สัญญากู้ฯ ก็สามารถเขียนเองได้ สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นเพียงรายละเอียดเบื้องต้นที่ควรมีในการทำสัญญาเพื่อให้สามารถนำไปดำเนินคดีได้เท่านั้น

โครงสร้างของสัญญากู้ยืมเงินแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1. ส่วนนำ รายละเอียดใน ส่วนนำ จะประกอบด้วย

1.1 ชื่อสัญญา
1.2 สถานที่ทำสัญญา
1.3 วันที่ทำสัญญา
1.4 ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา



Advertising

ตัวอย่าง ส่วนนำ

2. ส่วนเนื้อหา รายละเอียดใน ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย

2.1 วัตถุประสงค์ในสัญญา
2.2 ดอกเบี้ย
2.3 กำหนดการชำระหนี้
2.4 ผลของการผิดนัดชำระหนี้

ตัวอย่าง ส่วนเนื้อหา

3. ส่วนลงท้าย รายละเอียดใน ส่วนลงท้าย ประกอบด้วย

3.1 ข้อความส่วนท้ายของสัญญา
3.2 ลายมือชื่อของคู่สัญญา
3.3 พยานในการทำสัญญา

ตัวอย่าง ส่วนลงท้าย




หลักกฎหมายที่ควรรู้ในการทำสัญญากู้ยืม

1. สัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบตายตัว
2. การกู้ยืมเงินกันมากกว่า 2,000 บาท หากไม่ทำสัญญา หรือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้
3. ห้ามคิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปี หากเกินดอกเบี้ยจะเป็น โมฆะ
4. ห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้น
5. อายุความ 10 ปี นับแต่วันที่หนี้เงินกู้ถึงกำหนดชำระ

 

ข้อเสนอแนะ

หากต้องการตัวอย่างสัญญาใด สามารถแสดงความคิดเห็นไว้ได้เลย หรือ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาด้วยตนเอง เราขอแนะนำ 108 สัญญาธุรกิจ หนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยตัวอย่างของสัญญามากกว่า 100 ประเภท ที่มีเนื้อหาครบถ้วนและเป็นไปตามหลักกฎหมาย ซึ่งผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงตามความต้องการ

 

 

หนังสือ “108 สัญญาธุรกิจ” แนวทางการทำสัญญาที่รัดกุมตามหลักกฎหมาย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดข้อพิพาทให้ธุรกิจของคุณ

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?