การครอบครองปรปักษ์
-
การแย่งกรรมสิทธิ์ โดยการครอบครองตามกฎหมาย
- องค์ประกอบ
- – ครอบครองทรัพย์ (สังหาริมทรัพย์ / อสังหาริมทรัพย์)ของผู้อื่นโดยสุจริต
- – โดยสงบ เช่น ไม่ถูกฟ้องคดี / ไม่ใช้กำลังแย่งมา
- – เปิดเผย (ไม่หลบๆซ่อนๆ)
- – มีเจตนาเป็นเจ้าของ (ใช้สอยอย่างเดียวกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ / ไม่ใช่การครอบครองแทน)
- ติดต่อกัน (สังหาริมทรัพย์ 5 ปี / อสังหาริมทรัพย์ 10 ปี)
- – สามารถครอบครองได้เฉพาะทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์
(ถ้าเป็นที่ดินต้องมีโฉนด) - – ต้องไม่เป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิ หรือยอมรับสิทธิของบุคคลอื่น เช่น ทำสัญญาซื้อขาย / เจ้าของที่ดินอนุญาต / ทำสัญญาเช่า
- – ผู้ได้สิทธิจากการครอบครองปรปักษ์ จะต้องใช้สิทธิทางศาล จะบังคับให้เจ้าของไปจดทะเบียนโอนให้ไม่ได้
- – หากที่ดินมือเปล่า เปลี่ยนมาเป็นที่ดินมีโฉนด ในระหว่าง
ที่เข้าครอบครองปรปักษ์ การนับระยะเวลาต้องเริ่มนับ
ตั้งแต่การเข้าครอบครองในวันที่ที่ดินนั้น เปลี่ยนมาเป็นที่ดินมีโฉนด - – หากบุคคลภายนอกรับโอนที่ดิน โดยเสียค่าตอบแทน
และจดทะเบียนโดยสุจริต จะต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองใหม่ - ทรัพย์สินที่ไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้ ได้แก่ เงินตรา / สาธารณสมบัติของแผ่นดิน / ทรัพย์ที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
การครอบครองปรปักษ์อสังหาริมทรัพย์
- ผู้เข้าครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน ต้องทำอย่างไร หากครบระยะเวลา 10 ปี
- – ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าได้กรรมสิทธิ์มาจากการครอบครองปรปักษ์
- – รวบรวมหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่ามีการครอบครองตามหลักเกณฑ์
- – หากศาลมีคำสั่ง ให้นำคำสั่งศาลไปยื่นเปลี่ยนชื่อทะเบียน
- เจ้าของที่ดินต้องทำอย่างไรเพื่อป้องกันการถูกครอบครองปรปักษ์
- – เข้าไปดูแลที่ดิน/ใช้ประโยชน์
- – หากพบผู้บุกรุกให้รีบขับไล่
- – สร้างรั้วแบ่งเขตให้ชัดเจน
- – หากอนุญาตให้ผู้อื่นเข้าใช้ที่ดิน
ควรทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
- – กรณีที่เจ้าของโอนอสังหาริมทรัพย์ของตนที่มีผู้อื่นครอบครองปรปักษ์อยู่ให้บุคคลภายนอกก่อนครบระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
- – หากบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและ
จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
มีผลทำให้การครอบครองปรปักษ์ก่อนหน้านั้นสิ้นไป
การครอบครองปรปักษ์ อสังหาริมทรัพย์เสียภาษีหรือไม่
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการโอนกรรมสิทธิ์/สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่มาจากการครอบครองปรปักษ์
- – เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม
ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - – ผู้ที่ได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์
ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แต่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ตามปกติ