ปัจจัยต้องระวัง จ่ายค่าจ้างไม่เป็นธรรม

ปัจจัยต้องระวัง จ่ายค่าจ้างไม่เป็นธรรม

การจ่าย “ค่าจ้าง” ไม่เป็นธรรมอาจดูเป็นเรื่องทั่วไปที่มีในทุกองค์กร แต่ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยซ่อนเร้นมากมายที่ทำให้การจ่ายค่าจ้างไม่เท่า ทั้งจากอายุ เพศ ความพิการ หรือแม้แต่เชื้อชาติ ลองมาดูกันว่าปัจจัยเหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อทั้งพนักงานและภาพลักษณ์ขององค์กร แล้วองค์กรจะปรับตัวอย่างไรให้ความเป็นธรรมในการจ่ายค่าจ้างไม่ใช่แค่ทฤษฎี

ปัจจัยต้องระวังจ่ายค่าจ้างไม่เป็นธรรม

อายุคน/อายุงาน

หลายองค์กรบริหารค่าจ้างแบบไม่เท่าเทียม โดยใช้อายุของพนักงานเป็นเกณฑ์ เห็นว่าอายุน้อย จึงให้เงินเดือนน้อยกว่ารุ่นพี่ ทั้งที่ผลงานดีกว่า หรือบางกรณีเห็นว่าพนักงานมีประสบการณ์ทำงานมาน้อย จึงกดค่าจ้าง แบบนี้ถือว่าไม่เป็นธรรมในการจ่ายค่าจ้าง อาจทำให้เสียพนักงานที่มีคุณค่าไป

เพศ/เพศสภาพ

ปัจจัยเรื่องเพศและเพศสภาพเป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรนำมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดอัตราค่าจ้าง คือ ให้เงินเดือนผู้หญิงต่ำกว่าผู้ชาย ทั้งที่งานเหมือนกัน หรือในบางองค์กรจ่ายค่าจ้างให้ต่ำกว่าปกติ สำหรับพนักงานที่มีเพศสภาพแตกต่าง แม้จะรับผิดชอบงานแบบเดียวกับพนักงานคนอื่น

ความพิการ

ประเด็นนี้มีกฎหมายกำหนดในการจ้างงาน แต่ไม่ได้กำหนดในเรื่องค่าตอบแทน ทำให้บางแห่งจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพราะมองคนพิการว่าเป็นคนที่ไม่สมบูรณ์ คิดว่าทำงานได้น้อยหรือมีประสิทธิภาพไม่เท่าคนปกติ ซึ่งความเป็นจริงผู้พิการหลายคนทำงานได้ดี และมีประสิทธิภาพมากกว่าที่คิด

เชื้อชาติ/ชาติพันธุ์

บางองค์กรมองว่าคนต่างชาติเก่งกว่าคนไทย จึงให้ค่าตอบแทนสูงกว่า แม้ว่างานที่รับผิดชอบจะเหมือนกัน หรือในทางตรงกันข้าม คือ กดค่าจ้างคนงานต่างด้าวที่เข้ามาในองค์กร ทั้งที่งานไม่ต่างกับคนไทยในตำแหน่งเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบในด้านภาพลักษณ์และชื่อเสียงขององค์กร

 

ท้ายที่สุดแล้ว ความเป็นธรรมในการจ่ายค่าจ้างไม่ได้แค่สร้างความพอใจให้พนักงาน แต่ยังสะท้อนคุณค่าขององค์กรที่ให้ความเคารพในความหลากหลายและศักยภาพของพนักงานทุกคน หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม นอกจากจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดียิ่งขึ้น ยังเป็นการรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรไปอีกนาน

อ่านบทความนี้เพิ่มเติมใน
HR Society Magazine ฉบับตุลาคม 2567
พร้อมบทความที่น่าสนใจ

 

HR Society Magazine ฉบับตุลาคม 2567

 

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าจ้าง

ข้อควรระวังหักค่าจ้าง กฎหมายที่นายจ้างต้องรู้
ใช้ AI ช่วยบริหารค่าจ้างและสวัสดิการ
เงินค่าบริการ เงินค่าทิป ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่?

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?