20 พฤษภาคม 2565
การติด CCTV เพื่อ?
1.เพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัว
– ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ (ม.4(1) พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ)
– ผู้ติดตั้ง CCTV สามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงฐานในการประมวลผลตามกฎหมายแต่อย่างใด
– แต่ทั้งนี้ ผู้ติดตั้งจะต้องใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวอย่างแท้จริงเท่านั้น เช่น ไม่ติดตั้งกล้อง CCTV ให้ถ่ายนอกเหนือบริเวณที่อยู่อาศัยของตนเอง
2.เพื่อประโยชน์ของหน่วยงาน ร้านค้าหรือองค์กรต่าง ๆ
– การใช้กล้อง CCTV เพื่อรักษาความปลอดภัยของบุคคลหรือทรัพย์สิน และไม่ใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตน จึงอยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ
– ผู้ใช้กล้อง CCTV ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล* จึงต้องมีฐานทางกฎหมายมารองรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และดำเนินการให้สอดคล้องกับฐานทางกฎหมายนั้น
* “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ผู้มีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม
ใช้ หรือเปิดเผยซึ่งข้อมูลส่วนบุคคล
ฐานกฎหมายของการใช้กล้อง CCTV มีอะไรบ้าง?
ฐานที่รองรับความจำเป็นในการใช้กล้อง CCTV ในหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ นั้น คือ ฐานประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate interest)
– ต้องมีการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับกับผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจเกิดขึ้น
– หากประโยชน์ที่ได้มากกว่าผลกระทบที่จะเกิด ผู้ควบคุมข้อมูลจึงสามารถใช้ฐานนี้ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้
ผู้ใช้กล้อง CCTV ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ ดังนี้
– แสดงให้เห็นว่าการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปเพื่อผลประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของตน
– ผลประโยชน์นั้นมีความสำคัญไม่น้อยกว่าสิทธิพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ใช้กล้อง CCTV แบบไหนละเมิด PDPA ?
ตัวอย่าง 1
ธนาคาร B ทำการติดตั้งกล้อง CCTV ในบริเวณตู้ ATM หน้าธนาคาร เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการและป้องกันอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้น โดยธนาคารได้ติดป้ายแจ้งผู้ใช้บริการอย่างชัดเจนว่ามีการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลด้วยกล้อง CCTV
ธนาคารในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลสามารถใช้ฐานประโยชน์
โดยชอบธรรมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยที่ธนาคารไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ใช้กล้อง CCTV แบบไหน ละเมิด PDPA ?
ตัวอย่าง 2
โรงงานอุตสาหกรรม A ทำการติดตั้งกล้อง CCTV ในบริเวณตู้ ATM หน้าโรงงาน เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการและป้องกันอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้น แต่มุมกล้องมีรัศมียาวไปถึงทางเดิน
ถนนสาธารณะและอาคารฝั่งตรงข้าม
กรณีนี้การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการกระทำที่เกิน
ความจำเป็นและเป็นวิธีที่ไม่สมเหตุสมผล
– หากชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของ
ผู้ควบคุมข้อมูลและผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลที่ถูกบันทึกภาพมีน้ำหนักมากกว่า
– ดังนั้น ผู้ควบคุมข้อมูลจึงไม่สามารถอ้างฐานประโยชน์โดยชอบธรรมเพื่อประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้