23 กุมภาพันธ์ 2565
อากรแสตมป์ ?
คือ การจัดเก็บภาษีประเภทหนึ่งตามประมวลรัษฎากร ที่อยู่ในรูปแบบของ “แสตมป์” ใช้สำหรับปิดบนเอกสารราชการและหนังสือสัญญาต่าง ๆ โดยมีกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บ
ปัจจุบันอากรแสตมป์มี QR Code แล้ว ซึ่งจะระบุปีที่ออก หมายความว่า ต้องติดอาการแสตมป์ที่เอกสารและสัญญาในทันทีไม่สามารถติดย้อนหลังได้
ตราสารที่ต้องใช้อากรแสตมป์
ตราสาร คือ เอกสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ ปัจจุบันมีทั้งหมด 28 ลักษณะ ตราสาร เช่น สัญญาเช่าที่ดินโรงเรือน สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกันสัญญาจ้างทำของ สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน ใบมอบอำนาจหรือหนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน เป็นต้น
ภาระภาษี จะเกิดขึ้นเมื่อกระทำตราสารหรือสัญญานั้นเสร็จสมบูรณ์ คือ การลงลายมือชื่อคู่สัญญา
ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์
บุคคลตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น ผู้ให้เช่าผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย ฯลฯ ต้องเสียอากรแสตมป์ภายใน 15 วัน หลังจากกระทำตราสารเสร็จสมบูรณ์
ผู้ที่มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับค่าตอบแทน
“สัญญาเช่าที่ดิน ผู้ให้เช่า เป็นผู้เสียอากร”
“สัญญากู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้ เป็นผู้เสียอากร”
ตราสารที่ได้รับการยกเว้น เช่น
• ธนาคารแห่งประเทศไทย
• ธนาคารอาคารสงเคราะห์
• ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
• ผู้ประกอบการขนส่งเฉพาะการรับเงินที่เป็นค่ารับขนส่งคนโดยสาร
• การเคหะแห่งชาติ
• บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
• องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
• บริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
• สถาบันพัฒนาองค์การชุมชน (องค์การมหาชน)
• สถาบันคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
บทลงโทษ
มาตรา 124
ผู้ใดมีหน้าที่เสียอากร หรือขีดฆ่าแสตมป์ เพิกเฉยหรือปฏิเสธ ไม่เสียอากร หรือไม่ขีดฆ่าแสตมป์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
มาตรา 125
ผู้ใดออกใบรับไม่ถึง 10 บาท สำหรับมูลค่าตั้งแต่ 10 บาทขึ้นไป หรือแบ่งแยกมูลค่าที่ได้รับชำระนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากร จงใจกระทำหรือทำตราสารให้ผิดความจริงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
มาตรา 126
ผู้ใดจงใจลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าแสตมป์เป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 129
ผู้ใดโดยเจตนาทุจริตมีแสตมป์ซึ่งรู้อยู่ว่าเป็นแสตมป์ปลอม หรือค้าแสตมป์ที่ใช้แล้วมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทลงโทษสามารถแบ่งได้ตามกรณี ต่อไปนี้
- เมื่อพบว่าไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนเกินกว่า 15 วัน สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
ตรวจพบเมื่อพ้น 15 วัน แต่ไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่มีหน้าที่ต้องปิดแสตมป์ให้ครบถ้วน
ต้องเสียเงินเพิ่มอากรเป็น 2 เท่า ของจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 4 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า (ตามมาตรา 113 แห่งประมวลรัษฎากร)
ปิดอากรไม่ครบ ปิดอากร 6 บาท ต้องเสียเงินเพิ่มอากร (10 – 6) X 2 เท่า = 8 บาท รวมกับค่าอากรที่ต้องเสียให้ครบอีก 4 บาท ต้องเสียค่าอากรและเงินเพิ่มอากรทั้งสิ้น 4 + 8 = 12 บาท
ไม่ปิดอากรเลย ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 10 X 2 เท่า = 20 บาท รวมกับค่าอากรที่ต้องเสียให้ครบอีก 10 บาท ต้องเสียค่าอากรและเงินเพิ่มอากรทั้งสิ้น 10 + 20 = 30 บาท
บทลงโทษ
สามารถแบ่งได้ตามกรณี ต่อไปนี้
- เมื่อพบว่าไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนเกินกว่า 15 วัน สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
ตรวจพบเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่มีหน้าที่ต้องปิดแสตมป์ให้ครบถ้วน
ต้องเสียเงินเพิ่มอากรเป็น 5 เท่า ของจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 10 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า (ตามมาตรา 113 แห่งประมวลรัษฎากร)
ปิดอากรไม่ครบ ปิดอากร 6 บาท ต้องเสียเงินเพิ่มอากร (10 – 6) X 6 เท่า = 24 บาท (เงินเพิ่มอากรจำนวน 25 บาทมากกว่า จึงต้องเสียเงินเพิ่มอากร 25 บาท) และรวมกับค่าอากรที่ต้องเสียให้ครบอีก 4 บาท ต้องเสียค่าอากรและเงินเพิ่มอากรทั้งสิ้น 4 + 25 = 29 บาท
ไม่ปิดอากรเลย ไม่ปิดอากรเลย ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 10 X 6 เท่า = 60 บาท รวมกับค่าอากรที่ต้องเสียให้ครบอีก 10 บาท ต้องเสียค่าอากรและเงินเพิ่มอากรทั้งสิ้น 60 + 10 = 70 บาท
- กรณีนี้เกี่ยวกับการที่มีบุคคลอื่นไปแจ้งต่อสรรพากร หรือจากการตรวจสอบโดยเจ้าพนักงาน สรรพากรมีอำนาจ
เรียกเก็บเงินอากรนั้นจนครบ และเงินเพิ่มอากรอีกเป็นจำนวน 6 เท่าของเงินอากรที่ต้องเสียหรือขาด หรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
ปิดอากรไม่ครบ ปิดอากร 6 บาท ต้องเสียเงินเพิ่มอากร (10 – 6) X 6 เท่า = 24 บาท (เงินเพิ่มอากรจำนวน 25 บาทมากกว่า จึงต้องเสียเงินเพิ่มอากร 25 บาท) และรวมกับค่าอากรที่ต้องเสียให้ครบอีก 4 บาท ต้องเสียค่าอากรและเงินเพิ่มอากรทั้งสิ้น 4 + 25 = 29 บาท
ไม่ปิดอากรเลย ไม่ปิดอากรเลย ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 10 X 6 เท่า = 60 บาท รวมกับค่าอากรที่ต้องเสียให้ครบอีก 10 บาท ต้องเสียค่าอากรและเงินเพิ่มอากรทั้งสิ้น 60 + 10 = 70 บาท