20 พฤษภาคม 2565
รวมหลากหลายคำถามเกี่ยวกับการขอรับเงินสงเคราะห์กรณีตายและเงินบำเหน็จชราภาพ เมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิตไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินประกันสังคม ผู้ยื่นคำขอควรทำอย่างไร ?
มีหลายประเด็นของกฎหมายประกันสังคมที่เป็นปัญหา ซึ่งไม่เพียงแต่จะเกิดกับผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิตามกฎหมายอีกหลายคนเท่านั้น แต่ยังคงเป็นปัญหาในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่ยังไม่เป็นไปตามแนวทางที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ ผู้เขียนจึงอยากยกตัวอย่างกรณีการยื่นขอรับเงินสงเคราะห์กรณีตายและเงินบำเหน็จชราภาพ ซึ่งน่าสนใจและคาดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับหลายๆ ท่าน ทั้งที่เป็นผู้ประกันตนเองหรือนายจ้างได้เข้าใจและมีแนวทางในการขอรับเงินประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมให้ถูกต้องต่อไป
ผู้จัดการมรดก ถือเป็นผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนประกันสังคมหรือไม่ ?
ประโยชน์ทดแทนตามกฎหมายประกันสังคม (หรือกฎหมายเงินทดแทน) ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นมรดก ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ในการรวบรวมจัดการทรัพย์สินดังกล่าว และไม่เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์และเงินบำเหน็จชราภาพ เพราะไม่ใช่ผู้มีสิทธิตามที่กฎหมายประกันสังคมกำหนดไว้ เว้นแต่ ผู้ประกันตนได้ทำหนังสือระบุไว้ให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์หรือเงินบำเหน็จชราภาพ ไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในฐานะผู้จัดการมรดก เว้นแต่ ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิให้ทำหน้าที่ยื่นคำขอในฐานะตัวแทนตามที่รับมอบอำนาจเท่านั้น
ผู้มีสิทธิจะต้องยื่นคำขอรับเงินจากกองทุนประกันสังคมภายใน 2 ปี หรือไม่ ?
กฎหมายประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ผู้มีสิทธิสามารถยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมภายใน 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตามที่กฎหมายประกันสังคมกำหนด ไม่ว่าจะกำหนดไว้ 1 ปี หรือ กำหนด 2 ปี ก็ตาม เป็นเพียงกำหนดเวลาเร่งรัดให้มีการยื่นคำขอโดยเร็วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาหลายคดีได้วินิจฉัยเป็นแนวทางเดียวกันว่า ผู้มีสิทธิสามารถที่จะยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้แม้ว่าจะล่วงพ้น 1 ปี ไปแล้ว แต่ผู้ยื่นคำขอจะต้องแจ้งเหตุผลความจำเป็นที่ไม่สามารถยื่นคำขอรับได้ภายในกำหนดเวลา ดังนั้น ถึงแม้ว่านางสาวข.จะยื่นเกินกำหนดเวลา แต่หากได้มีเหตุผลจำเป็น เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมจะต้องรับคำขอและวินิจฉัยประโยชน์ทดแทนให้กับผู้ยื่นคำขอตามกฎหมายต่อไป
บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน (บุตรตามความเป็นจริง) มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตายและเงินบำเหน็จชราภาพในกรณีบิดามารดาซึ่งเป็นผู้ประกันตนถึงแก่ความตายหรือไม่ ?
ข้อกฎหมายและแนวคำวินิจฉัย เป็นดังนี้ การรับเงินสงเคราะห์กรณีตาย ผู้มีสิทธิตามกฎหมายประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 มีความเห็นที่ยังเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจากคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 382/2547 และคำพิพากษาศาลฎีกา เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2545 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2548 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษ ที่ 5124/2560 ฯลฯ วินิจฉัยไว้ว่า บุตรตามความเป็นจริงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีบิดาผู้ประกันตนถึงแก่ความตายด้วย แต่ในแนวทางการวินิจฉัยของสำนักงานประกันสังคม ยังคงถือว่า บุตรที่มีสิทธิต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
การรับเงินบำเหน็จชราภาพ กฎหมายประกันสังคม (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2542 กำหนดให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้กับบิดามารดา สามีหรือภรรยาหรือบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและคำพิพากษาศาลฎีกา เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2553 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2423/2557 ฯลฯ วินิจฉัยว่า บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่จ่ายเงินเงินสงเคราะห์กรณีตายและเงินบำเหน็จชราภาพ มีแนวทางปฏิบัติอย่างไร ?
กรณีเจ้าหน้าที่ปฏิเสธการจ่ายเงินสงเคราะห์กรณีตายและเงินบำเหน็จชราภาพ เนื่องจากผู้ยื่นคำขอเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ยื่นคำขอควรปฏิบัติและดำเนินการอย่างไร ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่คอลัมน์ “ประกันสังคม” วารสาร HR Society Magazine ฉบับเดือนกรกฎาคม
ส่วนหนึ่งของบทความ “ผู้รู้ช่วยคิด..ผู้ประกันตนเสียไปนานแล้ว เงินประกันสังคมยังไม่ได้!!! จะทำอย่างไร” วารสาร HR Society Magazine ฉบับเดือนกรกฎาคม 2564
สั่งซื้อฉบับนี้ ราคา 200 บาท คลิก
สนใจสมัครสมาชิกวารสาร 12 ฉบับ/ปี (เฉลี่ย 175.-/ฉบับ) คลิก
สิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิกวารสาร HR Society Magazine :
1. รับหนังสือกฎหมายแรงงาน ปีละ 1 เล่ม (มูลค่า 350 บาท)
2. รับสิทธิใช้ฟรี e-Magazine Index & Audio Book (อ่านวารสารรูปแบบ E-book สืบค้นข้อมูลบทความกฎหมายแรงงาน หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์)
3. รับส่วนลดในการอบรมสัมมนาของบริษัท ฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ จำกัด
4. รับสิทธิเข้าสัมมนาพิเศษฟรี ปีละ 1 ครั้ง
5. รับส่วนลดในการซื้อหนังสือของธรรมนิติ
6. รับส่วนลดในการลงประกาศหนังสือพิมพ์ข่าวผู้ถือหุ้น