PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่มีบทบาทสำคัญ ในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคล ทุกฝ่ายในองค์กรต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยพนักงานมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้ ในทุกขั้นตอนของ Personal Data Life Cycle (วงจรชีวิตของข้อมูลส่วนบุคคล) ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูลไปจนถึงการลบหรือทำลายข้อมูล ซึ่ง การไม่ปฏิบัติตาม PDPA และวงจรชีวิตของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้องมีความเสี่ยงหลายด้าน ดังนี้
ความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติตาม PDPA
(Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
1. ความเสี่ยงทางกฎหมาย
องค์กรอาจถูกฟ้องร้องและต้องชำระค่าปรับที่สูง หากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย
2. ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง
การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลอาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อชื่อเสียงขององค์กร ทำให้ลูกค้าหรือพนักงานขาดความเชื่อมั่นในองค์กร
3. ความเสี่ยงทางการเงิน
องค์กรอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้อง การปรับปรุงระบบความปลอดภัย หรือการชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
4. ความเสี่ยงด้านไซเบอร์
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเก็บในระบบดิจิทัลต้องได้รับการป้องกันจากการโจมตีทางไซเบอร์ การขาดมาตรการรักษาความปลอดภัยเพียงพออาจนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูล
5. การจัดการความเสี่ยงในวงจรชีวิตข้อมูล
องค์กรควรมีการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานและลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
เรียบเรียงบทความโดย
คุณ เอกรัตน์ บุณยรัตนกลิน
ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ
บริษัท ตรวจสอบภายในธรรมนิติ จำกัด
อ่านบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ PDPA
(Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สรุปประกาศกฎหมายลำดับรอง PDPA
เรื่องที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ PDPA