กฎหมายแรงงานการจัดการวันลาของพนักงาน

21 ธันวาคม 2563

 

วันลา

หมายความว่า วันที่ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดงานอันเนื่องจากเหตุจำเป็นต่าง ๆ โดยได้รับอนุญาตจากนายจ้าง เช่น ลาป่วย

ลาเพื่อทำหมัน  ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น  ลาเพื่อรับราชการทหาร  ลาเพื่อไปพัฒนาความรู้  ลาเพื่อคลอดบุตร

 

ลาป่วย

ตามมาตรา 32

• ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง

• หากลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป อาจต้องแสดงใบรับรองแพทย์

• ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์ของสถานพยาบาลให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 30 วัน / ปี

(มาตรา 57)

นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

(มาตรา 146)

 

ลาเพื่อทำหมัน

ตามมาตรา 33

• ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้

• ระยะเวลาขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและการออกใบรับรองของแพทย์

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อทำหมันเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ตามใบรับรองของแพทย์

(มาตรา 57)

นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)

 

ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น  

ตามมาตรา 34

• ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้

• ต้องเป็นภาระที่บุคคลอื่นไม่สามารถทำแทนได้ ต้องดำเนินการเอง

• การลาเป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันเพื่อกิจธุระอันจำเป็น เท่ากับในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา

ไม่เกิน 3 วันทำงาน / ปี

(มาตรา 57/1)

หากนายจ้างไม่จ่าย อาจจำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน

หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ลาเพื่อรับราชการทหาร  

ตามมาตรา 35

• ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารเพื่อฝึกวิชาชีพทหารได้

• ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

• ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหาร

เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 60 วัน / ปี (มาตรา 58)

นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท  (มาตรา 146)

 

ลาเพื่อไปพัฒนาความรู้ 

ตามมาตรา 36

• ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถได้ ไม่เกิน 30 วัน หรือ 3 ครั้ง / ปี

• ลูกจ้างต้องมีหลักสูตรและกำหนดวันเวลาที่แน่นอนชัดเจน

• ลูกจ้างต้องแจ้งต่อนายจ้างไม่น้อยกว่า 7 วัน

ให้ถือเป็นการลาโดยไม่ได้รับค่าจ้าง(แล้วแต่กรณี)

 

ลาเพื่อคลอดบุตร

ตามมาตรา 41

• ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 98 วัน / ปี

• ยื่นคำขอเพื่อลาคลอดล่วงหน้าพร้อมใบรับรองแพทย์

• ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร

เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 45 วัน (มาตรา 59)

นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 59 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)

 

ผลวิเคราะห์กระแสในโลกออนไลน์

ในช่วงสถานการณ์โควิดนี้ มาดูกระแสบนโลกออนไลน์กันว่ามีการพูดถึงหรือค้นหา “วันลาของพนักงาน” อย่างไร โดยเราใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า Zanroo Search ใช้ในการค้นหา พบว่ามีการพูดถึงกันมากบนโลกออนไลน์ โดยใช้ค้นหาข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม– 15 พฤศจิกายน 2563 ช่วงวันที่มีการพูดถึงเรื่องวันลาของพนักงานมากที่สุด คือ ช่วงวันที่ 23 กันยายน 2563 โดยส่วนใหญ่พูดถึงผ่านช่องทาง Twitter

 

 

โดยมีการพูดถึง “วันลาพนักงาน” ทั้งหมด 7 ข้อความ ซึ่งช่องทางที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดคือ Twitter จำนวน 3 ข้อความ

 

 

จะเห็นได้ว่า เนื้อหาที่ได้รับความนิยมและผู้คนมีส่วนร่วมมากที่สุด มาจากช่องทาง Twitter โดยเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งมีการเข้าชมมากกว่า 44 ครั้ง

 

 

นอกจากนั้น เครื่องมือ Zanroo ยังสามารถบอกได้อีกว่า แต่ละ Channel ที่มีการพูดถึง “วันลาพนักงาน” นั้น ผู้โพสต์หรือผู้มีส่วนรวม มีความรู้สึกหรือความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจากภาพแสดงได้ว่าผู้คนมีการกดไลค์ คอมเมนต์ และแชร์เป็นส่วนใหญ่ และยังสามารถดูความรู้สึกได้จาก Emoji ได้อีกด้วย

 

 

และสุดท้าย โพสต์ที่เกี่ยวข้องจะเป็นของเพจ Pantip มีทั้งหมด 1 โพสต์ และส่วนของ Influencer นั้น อันดับ 1 คือ Herzog & lดO เมาแล้ว ที่ผู้คนมีส่วนร่วมมากถึง 44 ข้อความต่อโพสต์

 

 

สุดท้าย ต้องขอขอบคุณสำหรับเครื่องมือ Zanroo Search ที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลและการเปรียบเทียบเพื่อทำการตลาดที่ง่ายขึ้น หากใครที่สนใจสามารถทดลองใช้งานได้ที่ https://www.zanroo.com/

[/vc_column_text]

tag
[/vc_column][/vc_row]

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?