26 พฤศจิกายน 2562
กอช. คืออะไร
กอช. = กองทุนออมแห่งชาติ เป็นกองทุนการออม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่ทำอาชีพอิสระได้ออมเงินเก็บไว้ใช้หลังเกษียณ โดยรัฐจะช่วยสมทบเงินส่วนหนึ่ง สมาชิกกองทุนจะได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบของบำนาญ ในการดูแลจากภาครัฐ
ใครสมัครได้บ้าง
สมัครได้ | สมัครไม่ได้ |
สัญชาติไทย อายุ 15 – 60 ปี | ข้าราชการประจำ (มีบำเหน็จบำนาญ) |
นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร ค้าขาย รับจ้างทั่วไป |
ผู้ประกันตน ม.33ม ม.39 , ม.40 ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท / เดือน ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท / เดือน |
ไม่อยู่ในระบบสวัสดิการบำเหน็จบำนาญอื่นของรัฐ | พนักงานบริษัท / องค์กร (มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) |
ผู้ประกันตน ม.40 ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท /เดือน |
สมัครสมาชิกอย่างไร
“สมัครที่ไหน ไม่จำเป็นต้องส่งเงินที่เดิม”
* ฟรีค่าธรรมเนียมการสมัคร
* ไม่ต้องเปิดบัญชีธนาคาร
* สมัครด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจ
ช่องทางการให้บริการ
ส่งเงินสะสมอย่างไร
– ส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ไม่ต่ำกว่าครั้งละ 50 บาท / เดือน แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 13,200 บาท / ปี
– ไม่จำเป็นต้องส่งเงินสะสมทุกเดือนและไม่จำเป็นต้องส่งเงินเท่ากันทุกเดือน
* หากเดือนใดขาดส่ง เงินสะสมจะไม่ถูกตัดสิทธิ์ แต่จะไม่ได้รับดอกเบี้ย และเงินสมทบในเดือนนั้น
ได้ประโยชน์อย่างไร
สิ่งที่สมาชิกจะได้รับ
* เงินสะสม
* ดอกเบี้ยเงินฝาก
* เงินที่รัฐบาลสมทบให้ตามระดับอายุของสมาชิก
*รัฐค้ำประกันผลตอบแทน
* ฝากครบจนถึงอายุ 60 ปี ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินบำนาญไว้ใช้ตลาดชีวิต
* ลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวน ตามเงินที่ส่งเข้ากองทุน
ตัวอย่าง
1. นางสาวสวย เริ่มส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตั้งแต่อายุ 22 ปี ส่งเดือนละ 1,000 บาท (ทุกเดือน)
เงินสะสมของนางสาวสวยเมื่ออายุ 60 ปี
2. นายหล่อ เริ่มส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ตั้งแต่อายุ 22 ปี ส่งเดือนละ 50 บาท (ทุกเดือน)
เงินสะสมของนายหล่อเมื่ออายุ 60 ปี
จะได้รับเงินในกรณีใดบ้าง
1. อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับบำนาญรายเดือนตลอดชีวิตหรือเป็นเงินดำรงชีพตามกรณี
2. ทุพพลภาพก่อนอยุครบ 60 ปี
– จะได้รับเงินสะสมและดอกเบี้ย
– เงินสมทบจากรัฐพร้อมดอกเบี้ย จะได้รับเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
3. ลาออกจากกองทุน จะได้รับเงินสะสมและดอกเบี้ย แต่ไม่ได้รับเงินสมทบจาก กอช.
4. เสียชีวิต ทายาทได้รับเงินในบัญชีทั้งหมด (เงินสะสม + เงินสมทบ + ดอกเบี้ย)
การจ่ายเงินคืน
• กรณีได้รับบำนาญ จ่ายให้ผู้รับทุกเดือนคำนวณได้จากเงินออมที่มีทั้งหมด เมื่อผ่านไป 20 ปี เงินในบัญชีหมดลง กอช. จะจ่ายต่อให้ทุกเดือน จนกว่าจะเสียชีวิต (ตัวอย่างกรณีนางสาวสวย)
• กรณีได้รับเงินดำรงชีพ ในกรณที่ยอดเงินสะสมไม่พอจ่ายเป็นเงินบำนาญ กองทุนจะจ่ายเป็น “เงินดำรงชีพ” แทน โดยจ่ายให้ผู้รับเดือนละ 600 บาท จนเงินหมดบัญชี กอช. จึงจะหยุดจ่ายเงินดำรงชีพ (ตัวอย่างกรณีนายหล่อ)
—–
แหล่งที่มา : www.facebook.com/dharmnitigroup