26 พฤศจิกายน 2562
ออมเงินดีอย่างไร? เงินไม่หาย แถมลดหย่อนภาษีได้ด้วย วันนี้แอดมินนำ 8 ทริค ออมเงินใช้หลังเกษียณ มาฝากทุกคนครับ
1. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF
• การลงทุนใน RMF บังคับว่าต้องออมเงินใน RMF ในทุกปีที่มีรายได้ อัตราขั้นต่ำ 3%ของรายได้ หรือ 5,000 บาท เลือกจำนวนที่น้อยกว่า
• ลงทุนจนอายุครบ 55 ปี และต้องลงทุนมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งสามารถลงทุนแบบปีเว้นปีได้ แต่จะนับเฉพาะปีที่ซื้อหน่วยลงทุน
ตัวอย่างที่ 1 นายพร มีรายได้ 165,000 บาทต่อปี เงินลงทุนขั้นต่ำของนายพร คือ 165,000 * 0.03 = 4,950 บาท นายพร สามารถเลือกลงทุนในอัตรา 4,950 บาท
ตัวอย่างที่ 2 นายชัย มีรายได้ 200,000 บาทต่อปี เงินลงทุนขั้นต่ำของนายชัย คือ 200,000 * 0.03 = 6,000 บาท นายพร สามารถเลือกลงทุนในอัตรา 5,000 บาท
2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
• เป็นการออมที่ลูกจ้างและนายจ้างสมัครใจร่วมกันสมทบเข้ากองทุน
• บริษัทจะสมทบให้ตามข้อกำหนดของกองทุน ได้ในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% และไม่เกิน 15% ของเงินเดือน
• สามารถถอนมาใช้โดยไม่มีภาระภาษีเมื่ออายุครบ 55 ปี และเป็นสมาชิกกองทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
ตัวอย่าง นายเจมส์ มีเงินเดือน 18,000 บาท สะสมเข้ากองทุน 10% = 1,800 บาท นายจ้างสมทบ 7% = 1,260 บาท (ตามข้อกำหนดของกองทุน) นายเจมส์จะมีเงินเข้ากองทุนทั้งหมด 1,800 + 1,260 = 3,060 บาท / เดือน
3. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข.
ตัวอย่าง นางสาวโฉม ได้รับเงินเดือน 30,000 บาท
– สะสมเงินตามกฎหมายร้อยละ 3 = 900 บาท
– ออมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 7 = 2,100 บาท
– เงินสมทบร้อยละ 3 = 900 บาท
นางสาวโฉมจะมีเงินเข้ากองทุนเดือนละ 900 + 2,100 + 900 = 3,900 บาท / เดือน
* จะได้รับเงินชดเชยเพิ่มอีก 2% ของเงินเดือน เมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิกและเลือกรับบำนาญเท่านั้น
4. กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช.
* จุดเด่นของกองทุนนี้ คือเริ่มสะสมได้ตั้งแต่อายุ 15 ปี และเมื่อครบอายุ 60 ปี ก็จะได้รับบำนาญทุกเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต
กองทุนนี้สะสมได้สูงสุดปีละ 13,200 บาท
5. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
* จ่ายผลประโยชน์ให้เป็นงวดเท่า ๆ กัน หลังจากจ่ายเบี้ยประกันภัยครบตามกำหนด
* จ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อมีอายุตั้งแต่ 55 – 85 ปี หรือมากกว่านั้น
6. ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์
* มีประกันหลากหลายให้เลือก
* จำนวนปีที่ออมได้มีทั้งระยะสั้น และ ระยะยาว
* มีทั้งแบบครบกำหนดได้เงินก้อนหรือเงินรายปีทุกปี จนครบสัญญา
* ระยะเวลาสัญญา 10 ปีขึ้นไป
7. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF
* LTF เหมาะสำหรับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว แต่อาจไม่มีความชำนาญในการลงทุน
* ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่ต่ำกว่า 7 ปีปฏิทิน
8. การทำประกันสุขภาพ
* การทำประกันสุขภาพ ไม่ใช่การสะสมทรัพย์ไว้ใช้ในวัยหลังเกษียณแต่เป็นการสำรองเงินไว้ใช้ในยามเจ็บป่วย หรือ อุบัติเหตุ
ข้อเสนอแนะ
* ประกันสุขภาพควรทำให้เหมาะสมกับความจำเป็นของแต่ละคน ไม่ควรยึด ทำตามเท่าจำนวนเบี้ยประกันที่ได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเท่านั้น
* การทำประกันสุขภาพควรทำเมื่อสุขภาพดี หากทำหลังจากที่สุขภาพไม่ดีจะทำให้เบี้ยประกันสูงขึ้น
อัตราการลดหย่อนภาษีของแต่ละกองทุน
—–
แหล่งที่มา : www.facebook.com/dharmnitigroup