สว. 2567 สมัครเพื่อโหวต

สมัคร สว. เพื่อมีสิทธิมีเสียง ดังนี้

●  ผู้สมัครจะมีโอกาสลงคะแนนโหวตให้กับผู้สมัครคนอื่น ๆ ทั้งในกลุ่มตัวเองและต่างกลุ่ม
●  ผู้สมัครจะมีโอกาสลุ้นเข้ารอบ เพื่อไปโหวตให้กับผู้สมัครอีกหลายคนและหลายครั้ง ถ้าเข้ารอบสุดท้ายก็มีโอกาสเป็นเสียงตัดสินคนจะได้เป็น สว. จริง ๆ หรือมีโอกาสได้เป็น สว. เอง
●  ผู้สมัครที่ได้เข้าร่วมกระบวนการมีโอกาสช่วยกัน จับตา สังเกตสิ่งผิดปกติ หากมีการจัดตั้ง หรือล็อกผลในกลุ่มผู้สมัครคนอื่น ก็นำมาเปิดโปงป้องกันการโกงได้

สว. ระบบใหม่ “แบ่งกลุ่ม”

ผู้สมัครเลือกได้ว่า มีคุณสมบัติเข้ากลุ่มไหน

1. กลุ่มบริหารราชการแผ่นดิน
และความมั่นคง
2. กลุ่มกฎหมายและกระบวนการ ยุติธรรม
3. กลุ่มการศึกษา
4. กลุ่มสาธารณสุข
5. กลุ่มทํานา ทำไร่
6. กลุ่มทําสวน ประมง เลี้ยงสัตว์
7. กลุ่มลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน
8. กลุ่มสิ่งแวดล้อม อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน
9. กลุ่มผู้ประกอบกิจการ SMEs
10. กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่น
11. กลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม
12. กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม
13. กลุ่มวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
14. กลุ่มสตรี
15. กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือ ทุพพลภาพ ชาติพันธุ์
กลุ่มอัตลักษณ์อื่น
16. กลุ่มศิลปะ ดนตรี บันเทิง กีฬา
17. กลุ่มประชาสังคม องค์กร
สาธารณประโยชน์
18. กลุ่มสื่อสารมวลชน นักเขียน
19. กลุ่มอาชีพอิสระ
20. กลุ่มอื่น ๆ

สว. ทำอะไรได้บ้าง

สว. สามารถสานต่อภารกิจเพื่อประชาธิปไตยได้หลายเรื่อง

●  เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ : มติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเขียนใหม่ทั้งฉบับต้องอาศัยเสียง สว. 1 ใน 3 จาก สว. ทั้งหมด 200 คน (อย่างน้อย 67 คน)
●  พิจารณากฎหมาย : สว. มีอำนาจลงมติเพื่อออกกฎหมาย หาก สว. ไม่สนับสนุนหลักการประชาธิปไตย กฎหมายดี ๆ ก็ผ่านได้ยาก
●  เคาะเลือกคนมาตรวจสอบรัฐบาล : สว. เป็นด่านสำคัญที่จะลงมติรับรองผู้มาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ หรือตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ ของรัฐ
●  ตรวจสอบการทำงานรัฐบาล : สว. สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ผ่านการอภิปรายในสภา และสะท้อนปัญหาของประชาชนผ่าน การตั้งกระทู้ถาม

สว. 2567 ไม่มีอำนาจโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

Copyright ©2024  dharmniti.co.th All rights reserved.

Log in with your credentials

Forgot your details?